Home > การป้องกัน การตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
เราสามารถป้องกันมะเร็งเต้านมได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงระดับปกติทุกคน ควรเริ่มจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และควรตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์เต้านมในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองอย่างละเอียด เช่น อายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อพบสิ่งผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที
“มะเร็งเต้านม…รักษาได้” คลิก
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมสามารถทำได้ ดังนี้
การซักประวัติและตรวจเต้านมโดยแพทย์เฉพาะทาง
การตรวจทางรังสีวิทยา
การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram) แนะนำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ ผู้หญิงในทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะมีขนาดเต้านมเล็กกว่าผู้หญิงทางฝั่งยุโรปหรืออเมริกัน และมีเนื้อเต้านมที่แน่นมากกว่าโดยเฉพาะในกลุ่มสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี การทำแมมโมแกรม หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน หรือการตรวจแมมโมแกรมในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี จะช่วยตรวจหาและวัดขนาดสิ่งผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้องอก ก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ได้ดียิ่งขึ้น
MRI จะใช้ในกรณีที่ผลของแมมโมแกรมตรวจพบความผิดปกติ และต้องการตรวจหาเพื่อให้แน่ชัดยิ่งขึ้น
3. การเจาะชิ้นเนื้อส่งตรวจกับพยาธิแพทย์
การเจาะชิ้นเนื้อส่งตรวจกับพยาธิแพทย์ จะทำเมื่อมีการตรวจพบก้อนผิดปกติ (ทั้งจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือการเอกซเรย์) หรือพบการมีแคลเซียมเป็นจุดที่ผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งวิธีที่วินิจฉัยได้แม่นยำคือวิธีการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมจะได้ทำการผ่าตัดและรักษาแบบมะเร็งเต้านมต่อไป
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
80% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะมาด้วยอาการพบก้อนที่บริเวณเต้านม และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะตรวจพบหรือคลำได้ด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอจะทำให้รู้ว่าลักษณะของเต้านมปกติเป็นอย่างไร และสามารถสังเกตได้หากเริ่มมีความผิดปกติขึ้น จะทำให้แพทย์สามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกซึ่งจะทำให้การรักษาได้ผลที่ดีเยี่ยม
ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ หลังจากหมดประจำเดือน ประมาณ 7 – 10 เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่ม ซึ่งจะทำให้ตรวจได้ง่าย และสำหรับผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง

การตรวจแมมโมแกรม คลิก
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammography) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ไม่สามารถตรวจพบจากการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยถูกต้องแม่นยำ และลดปริมาณรังสีที่ใช้ สามารถมองเห็นลักษณะความเข้มทึบที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด โดยผู้ที่เข้ารับการตรวจจะรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บปวด หรือเป็นอันตรายแต่อย่างใด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม
ไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งฝุ่นที่บริเวณหน้าอกและใต้รักแร้เพราะจะมีผลต่อภาพเอกซเรย์
ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร สามารถรับประทานได้ตามปกติ
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจ คือ ช่วง 7 – 14 วัน หลังจากหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่บวมน้ำมาก ทำให้ไม่เจ็บ และเป็นช่วงที่สามารถพบความผิดปกติได้ง่าย
หากมีอาการผิดปกติของเต้านม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
กรณีที่สงสัยว่า อาจจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือแพทย์ก่อนตรวจแมมโมแกรมทุกครั้ง
สำหรับท่านที่เคยตรวจแมมโมแกรม ควรนำภาพและผลการตรวจเดิมมาด้วย
ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี เพื่อตรวจเช็คหามะเร็งเต้านม
แชร์บทความ
ผู้หญิง