คุณแม่ไม่สบาย … ให้นมลูกได้ไหม?

แพทย์หญิงศรัยอร ธงอินเนตร
กุมารแพทย์โรคหัวใจ


คุณแม่ที่ให้นมบุตร 👩‍🍼 … นอกจากจะทุ่มเทแรงกาย แรงใจแล้ว เวลาป่วยเป็นหวัด หลายท่านไม่กล้าแม้แต่จะรับประทานยาหวัดเพื่อบรรเทาอาการ คุณแม่หลายท่านคงสงสัยว่า หากไม่สบายแล้วจะให้นมลูกได้หรือไม่?

มาดูกันว่า ยาอะไรที่ไม่ควรทานให้คุณแม่ที่ให้นมบุตรกันค่ะ

• ยากลุ่มที่ห้ามจริงๆเลย ก็เป็น าทางจิตเวชบางตัว, ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid ยากลุ่มนี้อาจทำให้เด็กง่วงซึม และกดการหายใจ, ยารักษาโรคลมชักบางตัว เช่น ยากันชัก Phenobarbital

• สารกัมมันตรังสี เช่น คุณแม่บางท่านต้องรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วย Iodine-131 (แต่หลังรับยาแล้ว 2 เดือน สามารถกลับมาให้นมแม่ได้)

• ยาเคมีบำบัด


แล้วยากลุ่มรักษาหวัด/ ภูมิแพ้ ตัวที่ใช้กันบ่อยๆ มีความปลอดภัยไหม?

ยาลดบวมจมูก

เช่น ยากิน Pseudoephedrine ยาตัวนี้คุณแม่ให้นมบุตรสามารถกินได้ ตัวยาผ่านน้ำนม น้อยมาก แต่พบว่าปริมาณน้ำนมอาจลดลงเล็กน้อยช่วงที่กินยา    

ยาแก้แพ้

1. ยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ค่อยง่วง คุณแม่กินยาแล้วสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้อย่างปลอดภัย เพราะตัวยาผ่าน น้ำนมในปริมาณน้อยมาก  แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่คุณแม่เป็นภูมิแพ้ แล้วต้องใช้ยาแก้แพ้นาน เช่น ยาCetirizine, Loratadine สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics ชื่อย่อ AAP) แนะนำว่าถ้าคุณแม่ต้องกินยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน  ควรพิจารณาใช้ยาพ่นเสตียรอยด์ (steroid) ที่จมูกแทน 

2. ยาแก้แพ้ กลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น เช่น ยา Chlorpheniramine ยาตัวนี้อาจทำให้คุณแม่ง่วงหลังกิน และอาจส่งผลให้เด็กง่วงซึมได้  แต่การกินยาขนาดต่ำ (เช่น ครั้งละ 2 – 4 มิลลิกรัม) เป็นครั้งคราว ไม่พบว่าส่งผลต่ออาการง่วงซึมของลูก คุณแม่ที่กินยาตัวนี้อาจส่งผลให้ปริมาณ น้ำนมของคุณแม่ลดลงได้เล็กน้อย

ยาฆ่าเชื้อ

ยาฆ่าเชื้อที่ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินหายใจบางแบคทีเรีย เช่น Amoxicillin, Co-amoxiclav, ยากลุ่ม Cephalosporin  ยาเหล่านี้ผ่านน้ำนมในปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน  ถ้าคุณแม่มีข้อบ่งชี้ที่ต้องใช้ยาดังกล่าวสามารถให้นมบุตรได้ 

ยาลดไข้ แก้ปวด

ยาที่ใช้บ่อยเช่น พาราเซตามอล และ Ibuprofen คุณแม่สามารถกินและให้นมบุตรต่อได้


นอกจากนี้ คุณแม่สามารถหาข้อมูลจาก Website ว่ายาที่จะรับประทานเหมาะกับคุณแม่ให้นมหรือไม่ ดังนี้

Lactmed (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK501922/) มีข้อมูลละเอียด เอกสารอ้างอิงทางการแพทย์  ได้รับการดูแลจาก The US National Library of Medicine (NLM) at the National Institutes of Health (NIH)

Mother to baby (https://mothertobaby.org/) เป็น website ที่ให้ข้อมูล แก่บุคลากรและผู้ปกครอง เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และให้นมบุตร  ดูแลโดย The Organization of Teratology Information Specialists (OTIS)

E-lactation (https://www.e-lactation.com/en/) หาข้อมูลง่าย ให้ข้อมูลยาแต่ละตัว แบ่งกลุ่ม very low risk, low risk, high risk, very high risk ค่ะ


หมอเข้าใจความตั้งใจดีของคุณแม่ให้นมทุกท่าน ข้อมูลที่แชร์วันนี้หวังว่าจะช่วยให้คุณแม่หลายๆท่านไม่ต้องทรมานกับอาการหวัด หรือภูมิแพ้จนเกินไป คุณแม่ยังสามารถรับประทานยารักษาหวัดได้ และมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการเช็คยาด้วยตัวเองได้ค่ะ

ดูแลลูกแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองนะคะ 😊

References:

Centers for Disease Control and Prevention. (2020). Prescription Medication Use. [online] Available at: https://www.cdc.gov/breastfeeding/breastfeeding-special-circumstances/vaccinations-medications-drugs/prescription-medication-use.html.

Spencer, J. P., Gonzalez III, L. S., & Barnhart, D. (2001). Medications in the breast-feeding mother. American family physician64(1), 119.

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า