Delta Plus เดลต้าพลัส โควิดสายพันธุ์อันตราย

Delta Plus สายพันธุ์อันตราย สายพันธุ์ที่ต้องทำความรู้จัก
หลัง “พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาพลัส ในประเทศ 1 ราย

โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์น่ากังวล แพร่เชื้อเร็ว

Covid-19 : 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง!

โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส คืออะไร?

โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส – Delta Plus (B.1.617.21.1 หรือ AY.4.2) โควิดกลายพันธุ์จากสายพันเดลตา (B.1.617.2) เกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส พบครั้งแรกในแถบยุโรปช่วงเดือนมีนาคม และพบในประเทศอินเดีย ช่วงเดือนเมษายน ในปัจจุบันพบว่าสายพันธุ์เดลตาพลัส มีการระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ เนปาล รัสเซีย จีน ตุรกี เดนมาร์ค อินเดีย รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญประเทศอังกฤษระบุว่า Covid สายพันธุ์ ‘เดลต้าพลัส’ แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดลต้า

ล่าสุด ประเทศไทยพบผู้ป่วยสายพันธุ์เดลตาพลัสรายแรกในประเทศจำนวน 1 ราย (รายงานสถานการณ์ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 25 ต.ค 2564) ซึ่งสายพันธุ์เดลตาพลัสเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และสหราชอาณาจักรได้ปรับลำดับให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวน (Variant Under Investigation)

สายพันธุ์ ‘เดลต้าพลัส’ แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดลต้า ทนทานต่อยาต้านไวรัส

  • แพร่เชื้อง่ายขึ้น เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น
  • ไวรัสเกาะจับเซลล์ปอดได้ง่ายขึ้น
  • ต่อต้านการรักษาด้วยแอนติบอดี้
  • หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี
  • แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลตาปกติ (B.1.617.2) 17%
  • เพิ่มอัตราการติดเชื้อภายในครัวเรือนมากขึ้นกว่าเดิม 12%
  • ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันแน่ชัดว่า ทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตหรือไม่

อาการโควิดสายพันธุ์เดลต้า ปวดหัว มีน้ำมูก อาการคล้ายไข้หวัด

เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตานั้นจะแตกต่างจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบดั้งเดิม โดยจะมีลักษณะอาการที่คล้ายกับการเป็นไข้หวัด และอาจไม่แสดงอาการหนักในผู้ติดเชื้อที่อายุน้อย จึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ติดเชื้อไม่รู้ตัวและเกิดการแพร่เชื้อในวงกว้างเร็วยิ่งขึ้น

ดังนั้น ในช่วงนี้ ใครที่มีอาการคล้ายหวัด “ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก” ให้สังเกตอาการของตนเองและอาจมีความเป็นได้ว่า อาจติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดหนัก

โควิดสายพันธุ์เดลต้า ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส หากมีอาการน่าสงสัยดังกล่าว แนะนำให้รีบพบแพทย์

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวตามมาตรการการป้องกันตนเอง ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ โดยควรสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1 เมตร ซึ่งจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อถึง 5 เท่า

นอกจากนี้ ควรหมั่นล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด สัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เพราะการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ได้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดและการทำกิจกรรมที่เสี่ยงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะทำให้ไวรัสมีประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อได้มากยิ่งขึ้น และเพื่อป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด

วัคซีนโควิดมีกี่ชนิด?
คำถาม-คำตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด19
วัคซีนโควิด19 ทำไมต้องฉีด?


ที่มาข้อมูลจาก: WHO, BBC, The Independent, India’s Ministry of Health, UKHSA, รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กระทรวงสาธารณสุข

ข้อมูลสุขภาพ Covid-19
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า