อาหารเป็นพิษโรคยอดฮิตในช่วงฤดูร้อน
อาหารเป็นพิษ ภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องและท้องเสียถ่ายเหลวตามมา
อาการแบบนี้สงสัย “อาหารเป็นพิษ”
- มีไข้ ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- ถ่ายอุจจาระบ่อย เกินวันละ 3 ครั้ง
- ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
- มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กระหายน้ำ
วิธีการดูแลตนเองเมื่ออาหารเป็นพิษ
โการรักษาอาการอาหารเป็นพิษ โดยปกติอาการดังกล่าวจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยให้รักษาตามอาการ
ท้องเสียต้องจิบ เกลือแร่แก้ท้องเสีย ORS ห้าม!จิบเกลือแร่สำหรับนักกีฬา
เลือกทาน ช่วยป้องกัน อาหารเป็นพิษ เมนูอะไรบ้าง? ที่กินแล้วเสี่ยง อาหารเป็นพิษ
- อาหารที่มีกะทิ เช่น แกงต่างๆ ขนมหวานที่ใส่กะทิ หรือราดน้ำกะทิ ซึ่งเป็นเมนูที่เสียง่ายทั้งนั้น
- ส้มตำ และยำต่างๆบางร้านอาจใช้ปลาร้าไม่ได้มาตรฐาน ถั่วลิสงขึ้นรา กุ้งแห้งใส่สี ก็อาจทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
- ขนมจีนน้ำยาต่างๆ เส้นขนมจีนทำมาจากแป้ง และบูดง่าย รวมถึงน้ำยากะทิก็เก็บได้ไม่นาน และผักเครื่องเคียงที่ทานสดๆ ก็อาจจะล้างไม่สะอาดพอ
- อาหารทะเล ควรเลือกสดๆ และปรุงให้สุก หากพบมีกลิ่นเหม็นคาว หรือสีผิดปกติไป ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด
- สลัด การทานผักสดๆ มีโอกาสได้รับเชื้อโรคที่ติดมาจากขนส่งหรือภาชนะที่ใส่ ดังนั้นควรล้างผักด้วยน้ำให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ
- น้ำและน้ำแข็ง กระบวนการทำน้ำแข็งบางครั้ง อาจไม่สะอาด มีผงหรือเศษฝุ่นต่างๆ ติดอยู่ในก้อนน้ำแข็งทำให้เป็นอันตรายต่อลำไส้ และระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้
ในช่วงที่อากาศร้อนแบบนี้ การรับประทานอาหารควรยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” หลีกเลี่ยงอาหารที่เสียง่าย หรือไม่สุก เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ซึ่งจะเป็นการป้องกันอาหารเป็นพิษได้ ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
