ปกป้องลูกจากภาวะตัวเหลือง



เมื่อลูกเผชิญ ภาวะตัวเหลือง!
หลังจากผ่านนาทีแห่งความยินดีในห้องคลอดมาแล้ว
คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยที่รอคอยมาเนิ่นนาน
ช่างเป็นช่วงเวลาที่สุขใจอย่างบอกไม่ถูก และพ่อแม่ทุกคนคงอยากพาเจ้าตัวน้อย
กลับไปชื่นชมที่บ้านเต็มที่ แต่เมื่อแพทย์แจ้งว่าลูกยังคงต้องอยู่ที่โรงพยาบาลต่อ
เนื่องจากภาวะตัวเหลืองคงทําให้พ่อแม่กังวลไปตามๆ กัน
จึงเป็นการดีอย่างยิ่ง ถ้าคุณพ่อคุณแม่จะทําความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะตัวเหลือง
เพื่อจะได้คลายความกังวลและดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง


ภาวะตัวเหลืองคืออะไร?

ภาวะตัวเหลืองคือ… อาการที่เกิดจากการมีสารสีเหลือง (ทางการแพทย์ เรียกว่า บิลิรูบิน)
สารสีเหลืองนี้จะ ไปเกาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทําให้สีผิวหรือสีตาขาวลูกน้อยมีสีเหลือง

ทําไมลูกตัวเหลือง?

สาเหตุที่ทําให้ทารกตัวเหลือง โดยปกติ มีสาเหตุจาก

▪ เม็ดเลือดแดงของลูกน้อยมีการทําลายและสร้างใหม่ตามธรรมชาติได้รวดเร็วกว่าเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่
▪ ตับของทารกยังทําหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ จึงขับสารสีเหลืองออกจากร่างกายได้ไม่ดี
▪ ทารกได้รับน้ํานมแม่ในช่วงแรกคลอดค่อนข้างน้อย

เด็กทารกบางคนอาจมีอาการตัวเหลืองมากกว่าปกติ มีสาเหตุจาก…

▪ กลุ่มเลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน ทําให้มีการสร้างสารสีเหลืองเพิ่มมากผิดปกติ
▪ มีเอนไซม์บางชนิดในเม็ดเลือดแดงต่ํากว่าปกติ
▪ ภาวะความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ
▪ ทารกคลอดก่อนกําหนด จะมีเอนไซม์ในเลือดบางอย่างต่ํากว่าทารกคลอดครบกําหนด
▪ ประวัติลูกคนก่อนมีภาวะตัวเหลืองมาก และอายุเริ่มต้นที่มีภาวะตัวเหลืองเกิดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด โอกาสที่คนต่อไปจะมีภาวะตัวเหลืองสูงก็จะเพิ่มมากขึ้น


ตัวเหลืองรักษาอย่างไร?

ทารกที่มีอาการตัวเหลืองทุกราย จะต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของสารสีเหลืองเป็นระยะๆ

1. กรณีสารสีเหลืองไม่สูงมาก ทารกสามารถขับสารสีเหลืองออกมาได้เอง โดย ไม่ต้องรักษา
2. การส่องไฟ โดยการใช้แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (แสงนีออน) ที่มีความเข้มข้นสูง (ไม่ใช้แสงแดดส่อง) แสงไฟจะช่วยเปลี่ยนสภาพของสารสีเหลืองให้ขับออกทางอุจจาระ ปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
3. ถ้าส่องไฟแล้วสารสีเหลืองยังไม่ลด กุมารแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า ควรใช้วิธีต่อไป คือการเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นการนําเอาเลือดที่มีสารเหลืองออกจากตัวทารก แล้วให้เลือดใหม่แทน ซึ่งวิธีนี้ใช้เมื่อมีสารสีเหลืองสูงถึงขั้นอาจเกิดอันตรายต่อทารก

เหลืองแบบไหน…น่าเป็นห่วง!

โดยปกติแล้วทารกที่คลอดครบกําหนดและมีสุขภาพแข็งแรง ประมาณ 80% จะมีภาวะตัวเหลืองจาง ๆ เมื่ออายุ 3-4 วัน และจะหายจากอาการตัวเหลืองไปเอง แต่หากทารกมีอาการตัวเหลืองผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยทั่วไปจะพบน้อย กว่า 1% คือ มีระดับสารสีเหลืองสูงกว่าปกติ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการ ดังต่อไปนี้ต้องระวัง

▪ เหลืองเร็ว คือเหลืองให้เห็นภายในอายุ 1-2 วันแรก
▪ เหลืองจัด คือเหลืองเข้ม ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลืองชัดเจน
▪ เหลืองนาน แม้อายุจะเกิน 7 วันแล้ว แต่ยังมีอาการเหลืองอยู่
▪ อุจจาระมีสีซีด ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติ
▪ เหลืองร่วมกับอาการเจ็บป่วยอย่างอื่น เช่น มีใช้ ซึม อาเจียน ถ่ายเหลว หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพราะสารสีเหลือง ที่มีมากเกินไป อาจจะไปเกาะในเซลล์สมองทําให้เกิดความผิดปกติทางสมองและ อาจถึงขั้นปัญญาอ่อนได้ ถ้ารักษาไม่ทันเวลา

แพทย์แนะนํา ควรรักษา ภาวะตัวเหลืองผิดปกติในโรงพยาบาลจนหายก่อนค่อยกลับบ้าน โดยการรักษาด้วยวิธีส่องไฟและการเปลี่ยนถ่ายเลือด จําเป็นต้องทําในโรงพยาบาล จึงไม่แนะนําให้พาทารกที่เริ่มมีภาวะตัวเหลืองกลับบ้านก่อน และถ้ามีอาการเหลืองมาก แพทย์จะได้ตรวจอาการและรักษาได้อย่างใกล้ชิดและทันเวลา ภาวะตัวเหลืองไม่สามารถรักษาตามคลินิกได้ ควรรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น เพราะทารกแรกเกิดต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แพทย์ไม่แนะนํา

– ไม่จําเป็นต้องให้ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองดื่มน้ํามากๆ เพราะน้ําไม่ช่วยกําจัดสารสีเหลืองในทารกและไม่ทําให้ตัวเหลืองลดลง กลับมีผลเสียตามมา คือ ทารกจะดื่มนมน้อยลง สารอาหารที่ทารกควรได้รับในแต่ละมื้อจะไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโต
– ไม่จําเป็นต้องพาทารกไปรับแสงแดด โดยถอดเสื้อออกหมด เพราะไม่สามารถกําจัดภาวะตัวเหลืองที่ผิดปกติได้ จําเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น

ข้อมูลสุขภาพ แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า