MRI คือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถให้ภาพความคมชัดสูง ภาพที่ได้จึงมีความชัดเจน โดยใช้เทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์อย่างรังสีวิทยา เพื่อตรวจทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆ
โดยเป็นเครื่องตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูง ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาว และแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง

MRI ตรวจอะไรได้บ้าง?
โรคที่สามารถวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ได้สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกอวัยวะของร่างกาย เช่น
✅ MRI สมอง (MRI of Nervous system) :
อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดในสมองตีบ สมองเสื่อม ปวดศีรษะเรื้อรัง
✅ MRI อวัยวะภายในช่องท้อง (MRI of Abdomen) :
มะเร็งตับ เนื้องอกในช่องท้อง ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
✅ MRI กระดูกสันหลัง (MRI of Musculoskeletal system) :
กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น ปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง แขนหรือขาอ่อนแรง
✅ MRI กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่างๆ :
ข้อเข่าเสื่อม การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เนื้องอก
✅ MRI เส้นเลือด (MRI of Blood Vessels) :
ตรวจดูเส้นเลือดและการไหลเวียนของเลือด ความผิดปกติของการอุดตันหรือโป่งพองของระบบเส้นเลือด
ทำความรู้จัก Philips Ingenia 1.5T Evolution 👍
MRI เครื่องใหม่ล่าสุด ที่โรงพยาบาลศิครินทร์เลือกใช้
ระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถประมวลผลได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาผู้ป่วยนอนอุโมงค์และเพิ่มความสะดวกสบายกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นคือ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจและการปฏิบัติตัวขณะตรวจ
- ไม่ต้องงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจ ยกเว้นกรณีตรวจอวัยวะในช่องท้องหรือตรวจระบบทางเดินน้ำดี ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
- กรณีผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจต้องได้รับยานอนหลับหรือยาสลบ
- ควรงดใช้เครื่องสำอางบางชนิดก่อนตรวจ ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
- สำหรับผู้ป่วยที่มีโลหะในร่างกาย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน เพราะอาจจะทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
ต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหูเครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา Thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้นอาจทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด
ระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจเฉลี่ยประมาณ 30 – 40 นาที
ระหว่างการตรวจผู้ป่วยต้องไม่ขยับ หรือเคลื่อนไหวส่วนที่ตรวจเพื่อจะได้ภาพชัดเจน

อาการแบบไหนที่ควรมารับการตรวจ MRI
- ในผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรมาตรวจ MRI ของช่องท้อง หามะเร็งตับ
- มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองแตก สมองโป่งพอง (Intracerebral Aneurysm) ควรมาตรวจ MRA เส้นเลือดสมอง
- เป็นโรคลมชัก
- มีอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรง หมดสติบ่อยๆ ความจำเสื่อมสับสน คลื่นใส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน เสียการทรงตัว
- ปากเบี้ยว หนังตาตก ลิ้นชาแข็ง ควรมาตรวจ MRI สมอง
- ปวดคอ ปวดหลัง ชาลงแขนหรือลำตัว ขาลีบ แขนหรือขาอ่อนแรง แขนขากระตุก สมรรถภาพทางเพศลดลง ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ควรมาตรวจ MRI ของกระดูกสันหลัง
- หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอเรื้อรังไม่มีสาเหตุ เจ็บหน้าอก กลืนน้ำหรืออาหารลำบาก ควรมาตรวจ MRI ของทรวงอก
- ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน เจ็บบริเวณชายโครง ท้องโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรมาตรวจ MRI ของช่องท้องหรือท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี
- ปวดท้องน้อยเป็นประจำ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด ควรมาตรวจ MRI ของอุ้งเชิงกราน
- ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อไม่ว่าจะเป็นข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อตะโพก ข้อเท้า ควรมาตรวจ MRI ของข้อนั้นๆ

MRI – เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแม่เหล็กเป็นเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและทันสมัย ช่วยให้ได้ภาพสแกนอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ผู้ป่วยไม่ต้องกลั้นหายใจไว้นานๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่กลั้นหายใจนานๆ ไม่ได้ ก็สามารถตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือนี้ได้ เพื่อนำไปสู่การรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น และสามารถตรวจในผู้ที่ไม่สามารถตรวจแบบใช้รังสีเอกซเรย์ และผู้ที่แพ้สารทึบรังสีได้ด้วย เช่น สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีภาวะไตวาย ซึ่งการตรวจด้วย MRI จะปลอดภัย ไม่มีผลแทรกซ้อน และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง