MRI (Magnetic Resonance Imaging) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

MRI คืออะไร?

MRI หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้ สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภาย ในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง

 

MRI ใช้ตรวจอะไรได้บ้าง?

MRI สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกอวัยวะของร่างกาย โดยระบบหรืออวัยวะที่ควรได้รับการตรวจด้วย MRI ได้แก่

  • MRI of Nervous system ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของสมอง  ไขสันหลังและเส้นประสาทในร่างกาย
  • MRI of Musculoskeletal system ตรวจหาความผิดปกติของกระดูกไขสันหลังและระบบกล้ามเนื้อและข้อ และช่วยในการวินิจฉัยรอยโรคต่าง ๆ
  • MRI of Blood Vessels ตรวจหลอดเลือดของอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี
  • MRI of Abdomen ตรวจหาความผิดปกติภายในช่องท้อง ท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดีตลอดจนสามารถแยกแยะเยื่อบุในช่องท้องได้ดี

 

เดิมทีแล้วเครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI อาจมีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยบางรายและต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจค่อนข้างนาน  จึงเป็นปัญหาที่พบเป็นประจำในผู้ป่วยที่ต้องรับการตรวจด้วยเครื่อง MRI เช่น

  • ผู้ป่วยบางรายมีอาการกลัวที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ได้
  • ผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าตรวจ MRI
  • บางครั้งต้องกลั้นหายใจสำหรับการตรวจอวัยวะบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ป่วยบางราย
  • อวัยวะหรือโรคบางอย่าง ต้องมีการสแกนหลายครั้ง เพื่อตรวจดูภาพจากหลายมุม ทำให้ใช้เวลานานขึ้น

 

Philips Ingenia 1.5T Evolution เป็นเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดถูกติดตั้งที่โรงพยาบาลศิครินทร์ โดยเครื่อง MRI ที่โรงพยาบาลศิครินทร์เลือกนำมาใช้มีระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถประมวลผลได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาผู้ป่วยนอนอุโมงค์และเพิ่มความสะดวกสบายกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นคือ

  • มีระบบ SmartWorkflow ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจให้แม่นยำและลดความแปรปรวนในการตรวจ
  • การใช้ระบบ AI ที่จะให้คำแนะนำและประมวลผลอัตโนมัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • มีระบบ Automated patient coaching เพื่อช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยระหว่างการตรวจ
  • การตรวจจับผู้ป่วยแบบระบบ VitalEye ที่ช่วยให้ตรวจจับการหายใจของผู้ป่วยได้รวดเร็วโดยไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้ตรวจ

 

 

เครื่อง MRI รุ่น Ingenia 1.5T Evolutionนี้  เป็นระบบเทคโนโลยี Compressed SENSE ที่ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจมากสูงสุดถึง 50% และยังให้ภาพคมชัดทั้งแบบ 2D และ 3D ในทุกภาคส่วนของกายวิภาคอีกด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI นี้จะช่วยให้ผู้ป่วยลดระยะเวลาในการต้องอยู่ภายในอุโมงค์น้อยลงและยังได้ภาพการวินิจฉัยที่คมชัดไม่ต้องตรวจซ้ำหลาย ๆ รอบ   สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีระบบเอ็นเตอร์เทนเมนท์ในห้องตรวจ MRI ทำให้ผู้ป่วยสามารถเพลินเพลินกับดูหนัง ฟังเพลงได้  ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายและลดความกังวลในขณะตรวจได้อีกด้วย

 


 

เรื่องที่ต้องรู้ เมื่อต้องทำ MRI

ประโยชน์จากMRI
1. สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อ ได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น
2. ใช้ได้ดีกับการตรวจสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง  เส้นประสาทในร่างกาย  กล้ามเนื้อ ตรวจเส้นเลือดได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยาง ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบัน
3.  การตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
4.  ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่อง MRI  สามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไป

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจและการปฏิบัติตัวขณะตรวจ

  1. กรณีผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือ ไม่ต้องงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจ
  2. กรณีผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ ต้องได้รับยานอนหลับ  หรือยาสลบ ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  3. กรณีตรวจอวัยวะในช่องท้องหรือตรวจระบบทางเดินน้ำดี ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  4. ควรงดใช้เครื่องแต่งหน้าบางชนิดก่อนตรวจ เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
  5. ระหว่างการตรวจผู้ป่วยต้องไม่ขยับ หรือเคลื่อนไหวส่วนที่ตรวจเพื่อจะได้ภาพชัดเจน
  6. ขณะตรวจจะมีเสียงดังจากเครื่องเป็นระยะๆ จะมีฟองน้ำอุดหู เพื่อลดเสียง
  7. ระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจเฉลี่ยประมาณ 30 – 40 นาที

 

อาการแบบไหนที่ควรมารับการตรวจ MRI

– ในผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรมาตรวจ MRI  ของช่องท้อง หามะเร็งตับ
– มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองแตก  สมองโป่งพอง (Intracerebral Aneurysm) ควรมาตรวจ MRA เส้นเลือดสมอง
– เป็นโรคลมชัก
– มีอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรง หมดสติบ่อยๆ ความจำเสื่อมสับสน คลื่นใส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน เสียการทรงตัว
ปากเบี้ยว หนังตาตก ลิ้นชาแข็ง ควรมาตรวจ MRI สมอง
– ปวดคอ ปวดหลัง ชาลงแขนหรือลำตัว ขาลีบ แขนหรือขาอ่อนแรง แขนขากระตุก สมรรถภาพทางเพศลดลง ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ควรมาตรวจ MRI ของกระดูกสันหลัง
– หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอเรื้อรังไม่มีสาเหตุ เจ็บหน้าอก กลืนน้ำหรืออาหารลำบาก   ควรมาตรวจ MRI ของทรวงอก
– ตัวเหลืองตาเหลืองคลื่นไส้อาเจียน เจ็บบริเวณชายโครง ท้องโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรมาตรวจ MRI ของช่องท้องหรือท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี
– ปวดท้องน้อยเป็นประจำ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปัสสาวะเป็นเลือด  ปัสสาวะขัด ควรมาตรวจ MRI ของอุ้งเชิงกราน
– ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อไม่ว่าจะเป็นข้อเข่า  ข้อไหล่  ข้อศอก  ข้อมือ  ข้อนิ้ว  ข้อตะโพก  ข้อเท้า ควรมาตรวจ MRI ของข้อนั้นๆ

 

ข้อพึงระวังก่อนเข้ารับการตรวจ MRI

  • ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่จะอยู่ในที่แคบๆ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic)
  • ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น

  – ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)

  – metal plates ในคนที่ดามกระดูก

  – คนที่เปลี่ยนข้อเทียม

  – คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)

  – ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ

  – ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู

  – ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ

  • ควรหลีกเลี่ยงในคนที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (medical devices)
  • ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆกระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับ โลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการเคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้ เกิดอันตรายได้ (ภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะ  อยู่ในลูกตา)
  • ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟันออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ
  • ผู้ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหูเครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา Thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้นอาจทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด
  • ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได
  • จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆไม่ควรตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • ห้อง ตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่นเครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก  เช่น เหล็กโลหะ การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM , บัตรเครดิต , นาฬิกา ,thumb drive หรือพวกเครื่อง Pocket PC

 

โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า