RSV ไวรัสร้าย ช่วงปลายฝนต้นหนาว

นายแพทย์ธนกร กาญจนประดับ
กุมารแแพทย์โรคระบบหายใจ


ช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว มักมีการระบาดของไวรัสหลายชนิด ซึ่งที่เจอบ่อย ได้แก่ ไวรัส RSV … คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง!!!

RSV คือ อะไร?
RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ โดยติดต่อกันจากการรับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากการสัมผัสหรือละอองน้ำมูกของผู้ป่วยคนอื่น

อาการแสดง

ภายหลังจากที่เด็กได้รับเชื้อ RSV ประมาณ 2-7 วัน เด็กอาจมีอาการแสดงได้ดังต่อไปนี้
• กลุ่มอาการในทางเดินหายใจส่วนบน จะมีอาการคล้ายโรคหวัด ได้แก่ ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ
• กลุ่มอาการในทางเดินหายใจส่วนล่าง อาการจะรุนแรงกว่า เด็กจะมีอาการไอรุนแรง ไอต่อเนื่อง หายใจเหนื่อยหอบ มีหน้าอกบุ๋ม ในบางครั้งอาจได้ยินเสียงหวีด หรือปากเขียวได้ ซึ่งหากรุนแรงมากอาจมีอาการหายใจล้มเหลว ต้องได้รับการช่วยหายใจอย่างเร่งด่วน

ความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับ
อายุของผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีหรือผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี 
โรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคหัวใจพิการ โรคปอดเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สภาพร่างกายภูมิคุ้มกัน

ในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 6  เดือน  อาจมีอาการงอเเง กระสับกระส่าย ไม่กินนม

อาการที่แสดงมีโอกาสป่วยรุนแรง ควรพามาตรวจและพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ได้แก่
ไข้สูงนานกว่า 2 วัน
ไอมีเสมหะปริมาณมาก ไอถี่
หายใจเร็ว หอบเหนื่อย อกบุ๋ม เขียว ได้ยินเสียงหายใจหวีด
ซึมลง ไม่เล่นหรือร่าเริง
ไม่ดูดนมหรือกินอาหาร
หยุดหายใจเป็นพักๆ


การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจตรวจหาเชื้อโดยใช้เสมหะจากบริเวณโพรงจมูกด้านหลัง (nasopharyngeal swab) ในบางรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจจะตรวจเอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูสภาพปอดและทางเดินหายใจส่วนล่างเพื่อประกอบการวางแผนรักษา

การรักษา

• ปัจจุบัน ยังไม่มียาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส RSV 
• ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง คืออาการเหมือนเป็นหวัด ผู้ปกครองสามารถให้การดูแลที่บ้านได้ ได้แก่ ให้ยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ให้ดื่มน้ำและกินอาหารให้เพียงพอ สังเกตอาการไข้ ลักษณะหายใจ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเด็กมีอาการรุนแรงหรือไม่ควรพามาพบแพทย์
• ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณารับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ให้สารน้ำทางหลอดเลือด
• หากมีอาการหอบเหนื่อย เขียว แพทย์จะพิจารณาให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง (high flow oxygen nasal cannula therapy) หรือหากมีการหายใจล้มเหลวจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ

ภาวะแทรกซ้อน

‣ หูชั้นกลางอักเสบ
‣ หลอดลมฝอยอักเสบ
‣ ปอดอักเสบ หรือปอดบวม
‣ หายใจล้มเหลว
‣ เสียชีวิต

การปฏิบัติตัวหลังออกจากโรงพยาบาล

• นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
• ให้ดื่มน้ำ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ มากๆ
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
• รักษาตามอาการ กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่าย
• งดการเดินทาง หยุดเรียน จนกว่าจะหายเป็นปกติ
• ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
• ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม

ทำอย่างไรจึงจะช่วยป้องกัน RSV?

‣ ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม
‣ ล้างมือด้วยน้ำสะอาดเเละสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล บ่อยๆ
‣ ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดมาป้ายตา จมูก
‣ หลีกเลี่ยงบริเวณแออัดที่ที่มีคนเยอะ
‣ หลีกเลี่ยงหอมแก้ม กอด จูบ
‣ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ
‣ ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมา สัมผัสหรือเล่นของเล่นชิ้นนั้น
‣ ไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกัน และหลีกเลี่ยงใช้เเก้วน้ำที่ผู้ป่วยใช้เเล้ว
‣ ทารกควรกินนมแม่
‣ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่

คุณแม่มือใหม่ ฝากครรภ์อย่างไรดี?

การฝากครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญ และคุณแม่ควรทำการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยง ติดตามการเจริญเติบโตของทารก และความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์

ผ่าตัดเพิ่มความสูง ปลอดภัย ทำได้จริง ที่โรงพยาบาลศิครินทร์

การผ่าตัดเพิ่มความสูง ทางออกสำหรับผู้ที่มีปัญหากับความสูงของตนเอง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางทำให้เราสามารถเพิ่มความสูงได้จริง

ฝากไข่ ฝากสเปิร์ม เตรียมพร้อมวางแผนมีเจ้าตัวน้อย

อายุถึงวัยที่จะสร้างครอบครัวแล้ว แต่!! ยังไม่พร้อมมีลูก!! มาฝากไข่ ฝากสเปิร์ม เตรียมพร้อมวางแผนมีลูกในอนาคต

เช็กอาการ ครรภ์อันตราย!! ว่าที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ไว้

เช็กอาการ ครรภ์อันตราย!! ว่าที่คุณแม่มือใหม่ต้องควรรู้ มีอาการอะไรบ้างที่ผิดปกติเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์และว่าที่คุณแม่

บทความทางการแพทย์ แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า