Covid-19 : 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง!

โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์น่ากังวล แพร่เชื้อเร็ว COVID สายพันธุ์ Omicron (B.1.1.529) สายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล สามารถแพร่กระจายได้ง่ายและไวขึ้นกว่าสายพันธุ์เดลต้า!

แพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า หลบภูมิคุ้มกันเก่ง แม้ว่าจะเคยติดโควิดมาก่อนแล้ว ก็สามารถติดสายพันธุ์นี้ซ้ำได้ อาการใหม่! โควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาการเป็นอย่างไร?

คุณหมอเตือน! แนวทางป้องกันโควิดกลายพันธุ์ รับมือสายพันธุ์โอมิครอน รีบฉีดวัคซีนเข็ม 3 ด่วน! ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ฉีดเมื่อไรดี?


ทำความรู้จัก “ชื่อใหม่” ไวรัสโควิดกลายพันธุ์

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไวรัสโควิดกลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกตามชื่อประเทศเป็นอักษรกรีก เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่พบครั้งแรก สายพันธุ์น่าวิตก 4 สายพันธุ์ (Varients of Concern)

สายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง (Varients of Interest) 6 สายพันธุ์

ชื่อเดิมชื่อทางวิทยาศาสตร์ชื่อใหม่
สายพันธ์ุแคลิฟอร์เนียB.1.427 / B.1.429เอปซิลอน
สายพันธุ์บราซิลP.2เซต้า
B.1.525อีต้า
สายพันธุ์ฟิลิปปินส์P.3ทีต้า
สายพันธุ์สหรัฐB.1.526ไอโอต้า
สายพันธุ์อินเดียB.1.617.1แคปป้า

โดยองค์กรอนามัยโลกระบุว่า ชื่อเรียกใหม่ของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ไม่ใช่การแทนที่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว แต่เป็นการตั้งชื่อเพื่อการสื่อสารที่ง่ายขึ้น เนื่องจากชื่อวิทยาศาสตร์อาจสื่อสารได้ยาก และอาจทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน อีกทั้งยังเพื่อลดการปฏิบัติหรือตีตราประเทศที่พบไวรัสโควิดกลายพันธุ์เป็นครั้งแรกอีกด้วย


Covid-19 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง!

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเปลี่ยนการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยมีชื่อเรียกและความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ดังต่อไปนี้

▪ สายพันธุ์แกมม่า P.1
⚠️ รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เลี่ยงภูมิคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพวัคซีน

▪ สายพันธุ์อัลฟ่า B.1.1.7
⚠️ เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70%

▪ สายพันธุ์เดลต้า B.1.617
⚠️ ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้

▪ สายพันธุ์เบต้า B.1.351
⚠️ ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้


ระวัง! โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus)

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) อาจมีความรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากหลบภูมิคุ้มกันได้ดี

จากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุขอินเดีย เรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) ไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่าเดลต้าพลัส (AY.1) โดยคาดว่าเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งความแตกต่างระหว่างโควิด-19 สายพันธุ์ Delta Plus VS Delta มีดังต่อไปนี้

อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 เช่นนี้ ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน และหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัด ไม่ปลอดโปร่ง เพื่อป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19


เฝ้าระวัง! Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lampda)
สายพันธุ์อันตรายกว่าเดลต้า แพร่เชื้อเร็ว ต้านภูมิคุ้มกัน!!!

Covid-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lampda) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ “C.37” พบครั้งแรกที่ประเทศเปรู และระบาดในประเทศแถบภูมิภาคละตินอเมริกา

🔴 โดยทาง WHO จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI) เนื่องจากคาดว่า Covid-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lampda) นี้
⚠️ ความรุนแรงเมื่อติดเชื้อมากกว่าสายพันธุ์อื่น
⚠️ แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น
⚠️ เลี่ยงประสิทธิภาพวัคซีนได้ดีมากขึ้น
(แต่จากการวิจัยของสหรัฐฯ พบว่า วัคซีน mRNA ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์แลมบ์ดาได้ดีอยู่)

โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์น่ากังวล แพร่เชื้อเร็ว


ขอบคุณข้อมูลจาก
– องค์การอนามัยโลก (WHO)
– Times of India, The New York Times
– BBC Thai

ข้อมูลสุขภาพ Covid-19
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า