โรคพาร์กินสัน – ทำความรู้จักกับโรคนี้และอาการที่ควรสังเกต

โรคพาร์กินสันหรือที่รู้จักกันในอีกชื่อโรค
“สั่นสันนิบาต”

           โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของบริเวณสมองส่วนกลางและระบบประสาท เป็นโรคที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 65 ปี  ซึ่งสาเหตุของโรคพาร์กินสันนั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่รักษาให้อาการบรรเทาลงหรือไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ที่เริ่มมีอาการ

ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แต่แตกต่างกันตรงสามารถรักษาให้ขาดหายได้เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า กลุ่มโรคพาร์กินสันเทียม มักพบในผู้ป่วยที่ใช้ยาบางชนิด (โดยเฉพาะยารักษาโรคจิต)

โรคพาร์กินสันมีอาการที่เด่นชัดคือ

1) สั่น

2) เกร็ง

3) เคลื่อนไหวช้า
 

โรคพาร์กินสันยังมีอาการอื่นๆ ที่สังเกตได้ เช่น

  • ทรงตัวไม่ดี
  • ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง
  • นอนไม่หลับ พลิกตัวไม่ได้
  • มีอาการทางจิต
  • เขียนหนังสือตัวเล็กลง
  • หลังค่อม ตัวงุ้มลง
  • มีอาการขยับแขนขารุนแรงขณะหลับ

โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ

  • ระยะที่ 1 มีอาการเริ่มต้นคือ มีอาการสั่นเมื่อมีการหยุดพัก หรือไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่นนิ้วมือ แขนเป็นต้น นอกจากนี้จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเเขน ขา และลำตัวร่วมด้วย
  • ระยะที่ 2 อาการจะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มหลังงอ เคลื่อนไหวช้า หรือเดินตัวโก่งไปข้างหน้า 
  • ระยะที่ 3 มีอาการทรงตัวผิดปกติ มีโอกาสหกล้มได้ง่าย เวลาลุกยืนจะลำบาก 
  • ระยะที่ 4 ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง อาการสั่นลดลง แต่มีอาการเเข็งเกร็งและเคลื่อนไหวช้ากว่าเดิม ในระยะนี้ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะผู้ป่วยอาจจะหกล้มได้ง่าย และไม่สามารถยืนได้
  • ระยะที่ 5 กล้ามเนื้อเเข็งเกร็งมากขึ้นจนผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้เลย กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้าหงิกงอ เสียงแผ่วเบา ไม่มีการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ทำให้ร่างกายซูบผอมลง ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้องลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ

แนวทางการโรคพาร์กินสัน

  • การรับประทานยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการผู้ป่วย
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
  • การผ่าตัด มักใช้กับผู้ป่วยที่ยังมีอาการไม่หนักมาก หรือผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากการรับประทานยา โดยวิธีการผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อให้ไปกระตุ้นสมองเรียกว่า การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation)

การบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรไปพบเเพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อรับคำแนะนำการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง โดยการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในเบื้องต้นได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงอย่างผัก ผลไม้ โดยแบ่งรับประทานเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่ทานบ่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากความดันโลหิตต่ำ อย่างอาการเวียนหัวเป็นต้น

สังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โรคพาร์กินสันเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราควรต้องสังเกตอาการ การพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานที่สุด


ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า