อาการสีเขียว (อาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อ)
- ไม่มีอาการ
- มีไข้/วัดอุณหภูมิได้ 37.5 C ขึ้นไป
- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
- ถ่ายเหลว
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
- ตาแดง มีผื่น
- ไม่มีโรคประจำตัวร่วม
- หายใจปกติ ปอดไม่อักเสบ
- ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง / โรคร่วมสำคัญ
ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ส่วนใหญ่ส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม, Hospitel หรือแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)
ผู้ป่วยโควิด เมื่อต้อง ‘Home Isolation’ หรือแยกกักตัวที่บ้าน ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ?
ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 แบบไหน? เข้าเกณฑ์การทำ Home Isolation
อาการสีเหลือง (เริ่มมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง)
- แน่นหน้าอก
- หายใจไม่ค่อยสะดวก
- หายใจเร็ว หายใจลำบาก ไอแล้วรู้สึกเหนื่อย
- อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
- ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน
- ปอดอักเสบ
- หน้ามืด วิงเวียน
ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง เป็นกลุ่มที่มีอาการปานกลาง ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
โควิดลงปอด อาการเป็นอย่างไร? ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อโควิดลงปอด
อาการสีแดง (ผู้ป่วยอาการหนัก)
- หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค
- แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
- ซึม เรียกไม่รู้สึกตัว ตอบสนองช้า
- ปอดบวมขั้นรุนแรง โดยมีอาการปอดบวม Hypoxic(resting O2 saturation <96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 >= 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exerciscinduced – hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates (ให้เข้าใจง่ายคือลองใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ถ้าต่ำคืออาการน่าเป็นห่วง)
ผู้ป่วยกลุ่มสีแดงมีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
5 สัญญาณอันตราย “ปอดอักเสบรุนแรง” จากเชื้อไวรัสโคโรนา “COVID-19”

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์