กินอย่างไร ห่างไกล ‘ไขมันในเลือดสูง’

ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยไขมันในร่างกายส่วนใหญ่ หมายถึง โคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เป็นอันตรายต่อร่างกายและอาจร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

ไขมันในเลือดสูง เท่าไร? … อันตราย!!!

ผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ โดยการที่จะทราบว่าเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถรู้ได้จาก การเจาะเลือด โดยในการตรวจระดับไขมันในเลือด แพทย์จะให้ตรวจค่าต่างๆ ดังนี้

  • โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ระดับปกติของโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งประกอบด้วย
    • โคเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอชดีแอล (High density lipoprotein -HDL) ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • โคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)

ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไรบ้าง?

ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพที่ไม่แสดงอาการ โดยเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคร้ายต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือด โดยผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง จึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น

กินอย่างไร ห่างไกลไขมันในเลือดสูง อาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ เช่น

  • กระเทียม เป็นอาหารลดไขมันชั้นเยี่ยม มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดความดันโลหิต
  • พริกไทยดำ ลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด และช่วยกระตุ้นการลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยเผาผลาญไขมันไปในตัว
  • อัลมอนด์ ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL-Cholesterol และป้องกันไม่ให้ไขมันไม่ดี หรือไตรกลีเซอไรด์ถูกดูดซับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้
  • ถั่วเหลือง ในเมล็ดถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถหาทานได้ง่ายๆ เช่น เมนูน้ำเต้าหู้
  • ชา ควรเลือกดื่มชาขาว เพราะมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังเป็นอาหารลดไขมันชั้นดีอีกด้วย
  • อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในร่างกาย และทำให้ไขมันชนิดที่ไม่ดีอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร สามารถช่วยป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงได้ โดยหากพบว่าตนเองอยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูง ควรลดบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว เน้นการปรุงอาหารที่ใช้วิธี นึ่ง ต้ม  อบ ย่าง แทนการทอดหรือการใช้น้ำมันผัด และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ เป็นต้น

ภาวะไขมันเลือดสูง ป้องกันอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรค อีกทั้งยังช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที หากคุณตรวจพบว่าอยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูง

ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า