10 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในเด็ก

นพ.ชัยศิริ ศรีเจริญวิจิตร
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ

โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่ระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 แล้วกว่า 100 ล้านราย และเสียชีวิตกว่า 2 ล้านราย (ร้อยละ 2)  สำหรับประเทศไทย แม้จะมีการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเข้มแข็งก็พบการติดเชื้อสูงถึงกว่า 25,000  ราย

โรคโควิด-19 คืออะไร?

▪ โรคโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ SARS-CoV-2 เริ่มระบาดครั้งแรกที่มณฑลหู่เป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน
▪ โครงสร้างทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับโรคซาร์สที่แพร่ระบาดใน พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์สที่แพร่ระบาดใน พ.ศ. 2555

โรคโควิด-19 แพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร?

▪ ทางละอองฝอย ผ่านการไอจามรดกันในระยะ 1-2 เมตร
▪ ทางการสัมผัส ผ่านการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เช่น น้ำมูก น้ำลาย ทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อมผ่านพื้นผิวสัมผัสที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ สำหรับสิ่งคัดหลั่งอื่น เช่น  อุจจาระ พบว่ามีโอกาสแพร่เชื้อได้น้อยมาก
▪ ทางอากาศ พบในบางกรณี เช่น ผู้ป่วยไอมาก  ใกล้ชิดผู้ป่วยในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก  การทำหัตถการที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยขนาดเล็ก ได้แก่ การดูดเสมหะ การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น

อาการของโรคโควิด-19 ในเด็กมีอะไรบ้าง?

▪ โรคโควิด-19 สามารถมีอาการได้หลากหลายตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย จนถึงปอดอักเสบรุนแรง หรือเสียชีวิต
▪ ระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการของโรคประมาณ 4-5 วัน หลังสัมผัสโรค เด็กมักติดเชื้อจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ในบ้านที่ติดเชื้อหรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19
▪ อาการของโรคโควิด-19 ที่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอแห้งๆ และอ่อนเพลีย อาจพบอาการปวดเมื่อย คัดจมูก น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือผื่นตามผิวหนัง สำหรับอาการทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง พบได้เล็กน้อย

โรคโควิด-19 มีอาการรุนแรงไหม?

▪ ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง มักพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเด็กเพียงร้อยละ 5  เท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือวิกฤติ เช่น ปอดอักเสบรุนแรง ระบบหายใจหรือระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว รวมถึงภาวะอักเสบหลายระบบในเด็ก
▪ ผู้ป่วยเด็กสามารถพบติดเชื้อแต่ไม่มีอาการได้ประมาณร้อยละ 4
▪ ภาวะแทรกซ้อนพบได้น้อย มักพบในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น  เด็กเล็กอายุน้อยกว่า  1 ปี  ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว  เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
▪ อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2

โรคโควิด-19 มีอาการแตกต่างจากโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่นอย่างไร?

▪ อาการของโรคโควิด-19 แยกได้ยากจากโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาร์เอสวี (RSV)  
▪ น้องที่มีอาการทางเดินหายใจร่วมกับมีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยง หากพบว่ามีความเสี่ยงจริง แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสจากสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูกและเอกซเรย์ปอดต่อไป

หากน้องไม่มีอาการของโรคโควิด-19 ควรตรวจหาสารพันธุกรรมของโรคโควิด-19 หรือไม่?

▪ หากน้องไม่มีอาการ ไม่จำเป็นตรวจหาสารพันธุกรรมของโรคโควิด-19 เนื่องจากการตรวจขณะไม่มีอาการแล้วไม่พบเชื้อ อาจเข้าใจผิดว่าไม่เป็นโรคนี้  ทำให้ขาดความระมัดระวังในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ รวมถึงในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมาก แออัด กลับจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคด้วย
▪ ยกเว้นกรณีที่น้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 น้องที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือทำหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

เราจะป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อโควิด-19 ได้อย่างไรบ้าง?

▪ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ยกเว้นในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า  1 ปี
▪ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือหากเห็นว่ามือสกปรกก็ควรล้างด้วยน้ำกับสบู่เป็นระยะเวลา 20 วินาที
▪ เวลาไอ จาม ควรใช้ทิชชูปิดปากและจมูก หลังจากนั้นนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด ถ้าไม่มีทิชชูให้ใช้ข้อศอกและต้นแขนด้านในแทน หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด 
▪ เว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร 
▪ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ
▪ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน
▪ หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับคนที่มีอาการป่วย
▪ งดหอมแก้มหรือสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กโดยไม่จำเป็น
▪ แม้น้องจะเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ก็ควรป้องการติดเชื้อและแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยเช่นกัน

หากน้องสัมผัสผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 เราควรทำอย่างไร?

▪ หากน้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองและเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสมแล้ว รวมถึงไม่ได้สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยโรคโควิด-19 น้องควรหยุดเรียนและแยกตัวจากเด็กคนอื่นเป็นระยะเวลา 14 วัน ในระหว่างนั้นวัดอุณหภูมิร่างกายวันละ 1-2 ครั้ง สังเกตอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ  สวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกันและแยกสำรับอาหาร รวมถึงงดไปแหล่งชุมชน
▪ หากน้องมีอาการผิดปกติหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถปรึกษาคุณหมอที่ให้การดูแลรักษาได้เลยครับ

โรคโควิด-19 มียาหรือวัคซีนหรือไม่?

▪ ปัจจุบันยังไม่มียาที่ที่ใช้ในการป้องกันหรือรักษาให้โรคโควิด -19  ดังนั้นการรักษายังคงเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก
▪ สำหรับวัคซีน ปัจจุบันได้รับการจดทะเบียนรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศไทยแล้ว และจะเริ่มนำมาฉีดในอีกไม่นานนี้

น้องควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่แนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19  เนื่องจากข้อมูลความปลอดภัยในเด็กยังมีอยู่จำกัด แต่คุณหมอเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้เมื่อเก็บข้อมูลอาสาสมัครเด็กมากเพียงพอก็น่าจะมีการรับรองให้ใช้ในเด็กได้ ดังนั้น ในระหว่างนี้ผู้ปกครองควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดหรือปรึกษาคุณหมอที่ดูแลรักษาน้อง รวมถึงเมื่อวัคซีนมีการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ผู้ใหญ่ในบ้านทุกคน แม้แต่ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็ควรฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันน้องให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 กันนะครับ

“ศิครินทร์” เปิดให้บริการผู้ป่วยนอก (OPD) ประกันสังคม 24 ชั่วโมง

พร้อมดูแลผู้ประกันตนทุกท่าน เจ็บป่วยไม่ต้องกังวล เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ (OPD) ตลอด 24 ชั่วโมง

Kepp being HAPPY, Keep Healthy – โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี BUY1 GET1

การตรวจสุขภาพช่วยดูแลสภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย หาสาเหตุและความผิดปกติที่สามารถพบได้เริ่มต้นโดยที่ยังไม่แสดงอาการก่อนที่จะลุกลามไปมากจนแสดงอาการออกมา

ผู้ประกันตนตรวจสุขภาพฟรี ตรวจอะไรได้บ้าง?

สิทธิสำหรับผู้ประกันตนทุกท่าน ตรวจสุขภาพฟรีตามเงื่อนไขช่วงอายุ โดยยื่นบัตรประชาชนเพื่อเข้ารับบริการ ไม่มีค่าใช้จ่าย ตรวจอะไรได้บ้าง เช็กรายการตรวจกัน

โควิดลงปอด อาการเป็นอย่างไร? ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อโควิดลงปอด

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงสงสัยว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน? อาการหนักหรือไม่? มีภาวะเชื้อไวรัสลงปอดหรือยัง? ฟังคำแนะนำวิธีเช็กอาการโควิดลงปอดได้ที่นี่

“ป่วยเป็นโควิด” ตอนนี้คุณอยู่ในระดับไหน? ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว-เหลือง-แดง หมายถึงอะไร?

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพื่อการดูแลและรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง

คำถาม-คำตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด19

รวมคำถามชวนสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด – หายแล้วเป้นซัำได้ไหม – ฉีดพร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ – ถ้าติดชากาแฟฉีดได้ไหม – หลังฉีดวัคซีนแล้วมีไข้ควรทำอย่างไร?

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน

เลือกประกันสังคม “โรงพยาบาลศิครินทร์” เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ได้ทุกสาขา ร่วมดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางครบทุกสาขา และทีมสหสาขาวิชาชีพมากประสบการณ์ พร้อมสิทธิสำหรับผู้ประกันตน ด้วยมาตรฐานการให้บริการเครือศิครินทร์

การรับวัคซีนเด็กในยุค COVID-19

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ผู้ปกครองหลายท่านอาจมีความกังวลในเรื่องของความเสี่ยงจากการเดินทางมารับวัคซีนที่โรงพยาบาล แต่ถ้าหากเลื่อนการฉีดวัคซีนในอายุที่ควรได้รับ อาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลศิครินทร์

สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ “ศิครินทร์” โปรแกรมตรวจสุขภาพในหลายมิติ เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพศ อายุ และปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ รวมถึงโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงหรือความผิดปกติและนำไปสู่การวางแผนเพื่อป้องกันการเกิดโรค เพราะเราเชื่อว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาทำให้รู้สึกอุ่นใจและคลายกังวลจากปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เลือกประกันสังคมโรงพยาบาลศิครินทร์ ประจำปี 2564′

เลือก “โรงพยาบาลศิครินทร์” เป็นสถานพยาบาลประกันสังคม 2564 เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ทุกสาขา – ขั้นตอนการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมด้วยตนเอง

เลี่ยง! ลด! อาหารเหล่านี้…ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่

รู้หรือไม่ว่า? อาหารที่อุดมด้วยไขมัน และแคลอรี มักมีเส้นใยอาหารน้อย และเป็นตัวการสำคัญที่จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่

“มะเร็งตับ” ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

“มะเร็งตับ” เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ซึ่งโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยมีการแสดงอาการ กว่าจะทราบว่าเป็นมะเร็งตับก็มักพบว่าอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว

พฤติกรรมเหล่านี้เสี่ยง! ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร โรคที่มักเกิดจากพฤติกรรม เป็นโรคพบได้บ่อย ทำให้ผู้ป่วยต้องเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน อย่าปล่อยให้โรคริดสีดวงอยู่กับเราเป็นเวลานานโดยไม่ได้รักษา!!!

ทานยาบำรุงแบบนี้ ระวังเสี่ยง “ตับพัง”

อาหารเสริมสมุนไพร ยาบำรุง วิตามินต่างๆ หากรับประทานในปริมาณี่มากเกินไป หรือต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อตับได้!!!


Covid-19 บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า