โรคต้อหิน

โรคต้อหิน

     ต้อหิน (Glaucoma) โรคต้อหิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคความดันตาสูง โรคนี้ภาษาอังกฤษ เรียก Glaucoma การเกิดต้อหินนั้นไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป เราจึงอาจเรียกโรคนี้ว่าเป็น โรคตา โรคซึ่งมีการทำลายเซลล์ประสาทตาในจอตา (Retinal ganglion cell) ต้อหินเป็นโรคที่เซลล์ประสาทในจอตาถูกทำลายจนตายไปเรื่อยๆ และการมองเห็น
กลไกการเกิดต้อหิน
     ส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย ทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลาย อาการสำคัญที่พบบ่อย คือความดันในตาสูง ในภาวะปกติน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา(Aqueous Humor) มีการไหลเข้าออกในลูกตาอย่างสมดุล หากมีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตามาก หรือการไหลออกได้ช้า ทำให้ความดันในตาเพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดอย่างช้าๆ หรือเฉียบพลัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค        
ทำไมคนไข้ต้อหินจึงมีความดันลูกตาสูงกว่าคนทั่วไป
     ลักษณะปกติของลูกตาจะมีการหมุนเวียนของน้ำภายในลูกตาอย่างสมดุลผ่านทางระบายน้ำบริเวณมุมตาดำ (trabecular meshwork)  คนไข้ต้อหินมีความผิดปกติที่ทางระบายน้ำนี้ ลักษณะการผิดปกติแบ่งเป็นสองชนิด
     1. ต้อหินชนิดมุมปิด เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างของตา ความดันในตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่เกิดขึ้นเฉียบพลันจะมีอาการ คือ ปวดตา หรือปวดศีรษะข้างเดียวกันร่วมด้วย มีตาแดงภายใน 30-60 นาที และมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และมองเห็นลดลง มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย  และในกรณีเกิดขึ้นเรื้อรัง มุมของม่านตาจะค่อยๆปิดลง  ผู้ป่วยมักปวดเรื้อรัง เป็นๆหายๆโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นโรค
     2. ต้อหินชนิดมุมเปิด  พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเนื้อเยื่อกรองน้ำเลี้ยงลูกตาค่อยๆทำงานมีประสิทธิภาพลดลง ความดันในตามักสูงขึ้นและทำลายขั้วประสาทตาในที่สุด ซึ่งในระยะแรกของโรค ชนิดมุมเปิดนี้จะไม่มีอาการแสดง ในช่วงแรกลานสายตาแคบลงเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถสังเกตได้ จนเมื่อประสาทตาถูกทำลายไปมาก การมองเห็นจะลดลงอย่างชัดเจน และจะค่อยๆทำลายมากขึ้น จนส่งผลให้ตาบอดได้ ในบางรายความดันในตาไม่สูง ขั้วประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อยๆ ทำให้ลานสายตาแคบลง
 
ปัจจัยเสี่ยง
  • ความดันในตาสูง
  • อายุมากกว่า 60 ปี
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
  • ใช้เสตียรอยด์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะยาหยอดตาที่มีเสตียรอยด์
  • มีประวัติอุบัติเหตุทางตา หรือโรคทางตาอื่นๆ
  • สายตาสั้นมาก มีโอกาสเกิดโรคชนิดมุมเปิด สายตายาวมาก มีโอกาสเกิดโรคชนิดมุมปิด มากกว่าคนสายตาปกติ
     เริ่มแรกจะต้องวัดการมองเห็นอยู่ในเกณฑ์ก่อนว่าปกติหรือไม่ ที่เน้นสำหรับการตรวจต้อหิน คือการวัดความดันลูกตา ซึ่งเป็นการตรวจที่สำคัญมากของการตรวจต้อหินเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียวที่ควบคุมได้ นอกจากนั้นยังตรวจการทำงานและรูปร่างลักษณะของขั้วประสาทตาซึ่งเป็นอวัยวะที่กระทบกระเทือนโดยตรงจากต้อหิน
 
การรักษาโรคต้อหินเรื้อรัง
1. การใช้ยา ( Medication ) มีทั้งเป็นรูปยาหยอดตา และยากิน
2.  การผ่าตัด ( Trabeculectomy )
3. การยิงเลเซอร์ ( Laser trabeculoplasty ) ใช้เมื่อการใช้ยาไม่ได้ผลเช่นกัน แต่ประสิทธิผลด้อยกว่าการผ่าตัด
 
 
บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า