ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ
เพื่อการรักษาที่ได้ผลจริง ตรงจุด เรามีการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาอวัยวะในร่างกายเสื่อมสมรรถภาพทั้งชนิดเฉียบพลัน และอาการเรื้อรังโดยใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพียบพร้อมไปด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สถานที่ที่สะอาด เอื้ออำนวย เพื่อการดูแลที่ดีเยี่ยม ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติสุข
การบริการ
กายภาพบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยระบบ กล้ามเนื้อเเละกระดูก
- อาการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
- อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
- การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- ผู้ป่วยหลังภาวะกระดูกหัก
- อาการเอ็นอักเสบ ข้ออักเสบ ข้อเคล็ด ขัด ยอก
- ข้อต่อ เนื้อเยื่อที่ยึดติดกัน
- การฟื้นฟูหลังการสูญเสียอวัยวะการใส่เเขน ขาเทียม
- การบำบัดก่อนเเละหลังการผ่าตัดเกี่ยวกับข้อเเละกระดูก
กายภาพบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยระบบประสาท
- การฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาทส่วนปลาย
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- การบาดเจ็บของกระดูกไขสันหลัง
- การเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาวะที่สามารถช่วยตัวเองได้
- การดูเเลก่อนเเละหลังการผ่าตัดระบบประสาท
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเเละเส้นประสาท
- การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
กายภาพบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยระบบหัวใจ หลอดเลือด เเละทรวงอก
- การฟื้นฟูหลังการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
- การฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- การฟื้นฟูหลังจากการผ่าตัดหัวใจโดยวิธีตัดต่อเส้นเลือดหรือการผ่าตัดลิ้นหัวใจ
- การฟื้นฟูหลังจากใส่ลูกโป่งถ่างขยายหลอดเลือดหรือการใส่ขดลวดถ่างขยาย
- การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ระบบทางเดินหายใจเเละทรวงอก
- การบำบัดก่อนเเละหลังการผ่าตัดโรคปอด
กายภาพบำบัดในกลุ่มคุณเเม่หลังคลอด
- ลดการอักเสบของเต้านมในคุณเเม่หลังคลอด / เต้านมคัด น้ำนมไม่ออก
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
เป็นการกระทำเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การเรียนรู้ และพัฒนาการเด็ก
โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันปัญหาแทรกซ้อน และบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้เต็มศักยภาพ โดยการนำกิจกรรมต่างๆ มาใช้ในบำบัดการรักษา ด้วยเทคนิควิธีการทางกิจกรรมบำบัดและอุปกรณ์ที่เหมาะสม
กลุ่มผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy’s Client)
กิจกรรมบำบัดจะเน้นการส่งเสริมทักษะในการใช้ชีวิตให้กับบุคคลในทุกช่วงวัย สามารถแบ่งกลุ่มผู้รับบริการได้ดังนี้
กลุ่มผู้รับบริการเด็ก (Pediatric Client)
จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ปัญหาพัฒนาการล่าช้า ส่งผลต่อทักษะการควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่-กล้ามเนื้อมัดเล็ก ทำให้มีอาการเกร็งหรืออ่อนแรง การเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว การเรียนรู้และการสื่อสารล่าช้าไม่ตรงตามวัย ซึ่งอาจเกิดได้จากกลุ่มโรคทางพันธุกรรม การเลี้ยงดู การได้รับสารเคมีต่างๆ หรือ การขาดออกซิเจนขณะคลอด
- ดาวซินโดรม (Dawn Syndrome)
- ออทิสติก (Autistic Spectrum Disorder)
- พัฒนาการล่าช้า (Developmental Delayed)
- สมองพิการ (Cerebral pulsy)
- บกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual disabilities)
- บกพร่องด้านการเรียน (Learning disabilities)
2. ปัญหาพฤติกรรม อีกปัญหาสำคัญในการใช้ชีวิตที่คุณพ่อคุณแม่หนักใจ คือ อาการดื้อต่อต้าน เกเร แกล้งเพื่อน แยกตัวไม่เข้าสังคม เรียนหนังสือไม่ได้ ซน อยู่ไม่นิ่ง อาละวาด มีปัญหาการควบคุมอารมณ์
- สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
- เด็กดื้อ (Oppositional Defiant Disorder)
- เด็กต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder)
- มีปัญหาด้านอารมณ์ (Mood Disorder)
กลุ่มผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกาย (Physical Disabilities Client)
เกิดได้จากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท หรือระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- อัมพฤกษ์-อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ได้รับความบาดเจ็บทางสมอง (Brain Injury)
- มีปัญหาการสื่อสาร (Aphasia or Dysarthria)
- มีปัญหากลืนลำบาก (Dysphagia)
- มีปัญหาการใช้มือ (Hand function and Hand Prehension)
- มีปัญหาการรับความรู้สึก (Sensory impairment)
- มีปัญหาด้านความคิดและการรับรู้ (Cognition and Perception impairment)
กลุ่มผู้รับบริการผู้สูงอายุ (Geriatric Client)
ในกลุ่มผู้รับบริการผู้สูงอายุนั้น จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- ผู้ป่วยที่เสื่อมสมรรถภาพทางกาย (Degenerative Disease)
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านความคิดความเข้าใจ (Cognitive Dysfunction and Memory lost)
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการรับรู้ (Perception impairment)
กลุ่มผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ (Psychiatric Client)
สำหรับผู้รับบริการทางจิตเวชจะมีความสามารถทางร่างกายที่ดี แต่ยังขาดทักษะในการกลับไปดำเนินชีวิตอย่างปกติได้ เช่น ขาดทักษะการเข้าสังคม การสื่อสารที่เหมาะสม การควบคุมอารมณ์ การดูแลสุขอนามัย การทำงานที่มีขั้นตอนซับซ้อน การบริหารจัดการเวลา และการจัดการตนเอง จึงควรมีการฝึกทักษะที่บกพร่องเพิ่มเติมในคนไข้กลุ่มโรคต่างๆ
- จิตเภท (Schizophenia)
- ย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compressive Disorder)
- มีอาการวิตกกังวลสูง หรือมีความกลัวเฉพาะอย่าง (Anxiety and Phobia)
- บุคลิกภาพไม่เหมาะสม (Personality disorder)
- มีปัญหาทางอารมณ์ (Mood Disorder)
- ซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)
- ไบโพล่า (Bipolar Disorder) เป็นต้น