Post Covid Condition = อาการหลังจากติดเชื้อ Covid โดยผู้ป่วยยังมีอาการผิดปกติยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ แม้จะหายจากเชื้อโควิดแล้ว
ผลกระทบสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยบางรายยังรู้สึกไม่แข็งแรง และยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนที่ผ่านมา โดยจากรายงานการวิจัยพบว่า 80% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการใดอาการหนึ่ง โดยอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่
อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19
ผลกระทบระยะยาวของการติดเชื้อโควิด-19 เราอาจจะเคยได้ยินในชื่ออื่น ไม่ว่าจะเป็น Long-haul COVID-19, Post-acute COVID-19, Post-COVID-19 Syndrome

อาการที่ตามมาหลังหายป่วยโควิด-19
จะเป็นนานแค่ไหน?
จากรายงานการวิจัยพบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 จะมีโอกาสในการเกิดอาการจากภาวะ Long Covid หรือผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้เคยป่วยเป็นโควิด โดยจะมีอาการในระยะเวลาประมาณ 180 วัน

มีอาการแสดงในระยะเวลา 1 – 90 วัน (ไม่มีอาการในช่วงวันที่ 90 – 180)
มีอาการเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 90 – 180 วันเท่านั้น (ไม่มีอาการในช่วงวันที่ 1 – 90
มีอาการแสดงในช่วงวันที่ 1 – 90 และมีอาการอีกครั้งในช่วงวันที่ 90 – 180
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากกราฟข้างต้นแล้ว พบว่า 60.1% ของคนไข้ที่มีอาการครั้งแรกในช่วง 3 เดือนแรกจะแสดงอาการอีกครั้งในช่วงวันที่ 90 – 180 โดยอาการส่วนใหญ่ที่พบมีดังนี้
โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบระยะยาว (Long Covid) ในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 พร้อมรับคำแนะนำเพื่อฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว เพราะโควิด-19 เป็นโรคที่ส่งผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวต่อร่างกาย ผู้ป่วยบางรายอาจมีสุขภาพไม่แข็งแรงดังเดิม…
ภาวะลองโควิด LONG-COVID คือะไร?
โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด19 LONG COVID CARE Health Check Up
อ้างอิงข้อมูลจาก
Lopez-Leon, S., Wegman-Ostrosky, T., Perelman, C. et al. More than 50 long-term effects of COVID-19: a systematic review and meta-analysis. Sci Rep 11, 16144 (2021). https://doi.org/10.1038/s41598-021-95565-8
Taquet M, Dercon Q, Luciano S, Geddes JR, Husain M, Harrison PJ (2021) Incidence, co-occurrence, and evolution of long-COVID features: A 6-month retrospective cohort study of 273,618 survivors of COVID-19. PLoS Med 18(9): e1003773. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1003773