3 ทำ! ที่ทำให้คุณเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม” มะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิง

“มะเร็งเต้านม” เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย สาวๆ ควรตรวจเช็กเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำและหมั่นตรวจเช็กสุขภาพโดยการตรวจเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม (Digital Mammography) เป็นประจำทุกปีเพื่อที่จะทราบตั้งแต่เนิ่นๆ ว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่…

เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นจะช่วยไม่ให้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักมีก้อนเนื้อในเต้านม เจ็บปวดเต้านม มีก้อนที่รักแร้จากต่อมน้ำเหลืองโต มีสารคัดหลั่งจากหัวนมเป็นเลือด

อาการและปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม

และเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากมะเร็งเต้านมควรหลีกเลี่ยง 3 พฤติกรรมนี้ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

1.ดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ

พฤติกรรมเหล่านี้เสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งเต้านม ควรลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ พร้อมกับลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอลก์ลง

2.รับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน

สาวๆ ที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านมเท่านั้น 

3.น้ำหนักตัวเกิน ปล่อยให้อ้วน

ผู้หญิงอ้วน มักจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติ ทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นตามน้ำหนักตัวและไขมันที่เพิ่มขึ้น

เมื่อไรที่ควรตรวจมะเร็งเต้านม ดังนั้นสาวๆ ควรตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำและหมั่นตรวจเช็คสุขภาพโดยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปีเพื่อที่จะทราบตั้งแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


สัญญาณเตือน มะเร็งเต้านม

บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม และมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด (มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเต้านม) ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
  • บริเวณหัวนมบุ๋ม หรือเต้านมมีรูปร่างผิดไปจากเดิม
  • มีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนมหรือมีแผลบริเวณเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลบริเวณหัวนมและรอบหัวนม
  • เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
  • อาการปวดบริเวณเต้านม
  • ไม่มีอาการผิดปกติ แต่พบรอยโรคจากการตรวจแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวนด์เต้านม

ข้อมูลสุขภาพ ผู้หญิง
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า