เอาชนะภูมิแพ้ ด้วยการดูแลตนเอง

โรคภูมิแพ้ เป็นภาวะผิดปกติที่ร่างกายมีความไวต่อสารบางอย่างในสิ่งแวดล้อม อาทิ ฝุ่น ควัน เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้ แมลง ขนสุนัข ขนแมว น้ำหอม อาหารบางชนิด ทำให้ร่างกายมีอาการแสดงได้หลายอย่าง เช่น คัดจมูก คันจมูก จาม คันตา น้ำมูก เป็นต้น

ภูมิแพ้ อาจเกิดจากพันธุกรรม หรืออาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม การได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เป็นตัวกระตุ้น แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะดูแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมีกระบวนการเกิดลักษณะเดียวกัน

การสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เป็นอีกหนึ่งวิธีการเอาชนะกับโรคภูมิแพ้ เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ได้ ด้วยการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำความสะอาด จัดเก็บพื้นที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย หลีกเลี่ยงและกำจัดสารก่อภูมิแพ้

หากทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีอาการเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติอย่างละเอียด เพื่อทราบสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ และให้แพทย์ประเมินอาการและระดับความรุนแรงของอาการแพ้ เพื่อทำการรักษาได้อย่างตรงจุด และป้องกันไม่ให้อาการแพ้เกิดการลุกลาม

  • จมูกอักเสบเนื่องจากการแพ้ อาการ: คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันใบหู คันริมฝีปาก น้ำมูกไหลลงคอ อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นตามฤดูกาล เช่น เกิดเฉพาะในฤดูที่เกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศ เกิดเป็นไข้ละอองฟาง เป็นต้น หรือมีอาการตลอดทั้งปีเลยก็ได้
  • เยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากการแพ้ อาการ: ตาแดง หนังตาด้านในแดง น้ำตาไหล คันรอบๆ ตา หนังตาบวม
  • ลมพิษ อาการ: ผิวหนังเป็นริ้ว เป็นแนวแดง และมีอาการคัน
  • อาการแพ้เฉียบพลัน อาการ: หน้าแดง ลมพิษ เยื่อจมูกบวม คัดจมูก เกิดการบวมของเนื้อเยื่ออ่อนใต้ผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจขัด มีเสียงหวีด และความดันโลหิตต่ำ อาการแพ้เฉียบพลันอันตรายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการเตือน ที่บอกว่า คุณกำลัง “แพ้ยา”


แพ้อะไร? ตรวจให้รู้ด้วย “Skin Prick Test”

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เป็นอาการแพ้ที่พ่อแม่ต้องสังเกต … ภูมิแพ้เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่พบมากขึ้น เกิดได้จากทั้งพันธุกรรม การได้รับสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่อายุยังน้อย หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ รวมถึงการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ภูมิแพ้ในเด็กสามารถป้องกันได้…แค่ทดสอบ แพ็กเกจทดสอบภูมิแพ้


50 วิธี ดูแลตนเอง เอาชนะภูมิแพ้

  • สระผมก่อนเข้านอนทุกคืน โดยเฉพาะในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศ
  • หลีกเลี่ยงการตากเสื้อผ้า และเครื่องนอน เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนไว้กลางแจ้ง หรือในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศเพราะเกสรดอกไม้และเชื้อราอาจเกาะติดกับผ้าที่ตากได้
  • ล้างมือทันทีหลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง หรือให้อาหารสัตว์เลี้ยง
  • เปิดไฟในตู้เสื้อผ้าตลอดเวลา เพื่อลดเชื้อราภายในตู้เสื้อผ้า
  • ไม่ควรนำตุ๊กตาที่ยัดไส้ด้วยนุ่น หรือใยสัตว์ไว้ในห้องนอน
  • ช่วงเวลาสายไปจนถึงบ่าย เป็นช่วงที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนไปทั่ว ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ง่าย
  • ควรเปลี่ยนเสื้อผ้านอกห้องนอน เพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ไว้นอกห้องนอน
  • ถอดเสื้อผ้าและซักทันที หลังจากเข้าใกล้บริเวณที่มีสัตว์เลี้ยง
  • หุ้มปลอกหมอนและฟูกนอนในผ้าพลาสติกแล้วปูทับด้วยผ้าฝ้าย เพื่อป้องกันไรฝุ่นไม่ให้มาสัมผัสร่างกาย
  • ใช้เครื่องปรับความชื้นในห้องที่อับชื้นมากๆ เพื่อลดจำนวนเชื้อรา ความชื้นที่พอเหมาะควรมีค่าอยู่ระหว่าง 25-50%
  • หลีกเลี่ยงการใช้พรมปูพื้นห้อง โดยการใช้ไม้หรือกระเบื้อง เพราะสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
  • หากแพ้ผึ้งหรือมดตะนอย ควรหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อยืดสีสด การฉีดสเปรย์ผม การใช้น้ำหอมดับกลิ่นตัว หรือการใส่น้ำหอม รวมทั้งการรับประทานอาหารนอกบ้านในบริเวณที่มีผึ้งหรือมดตะนอย
  • เปลี่ยนเครื่องเรือนที่บุด้วยนุ่น หรือตกแต่งด้วยขนสัตว์ มาเป็นเครื่องเรือนที่ทำจากพลาสติก ไม้ โลหะ หรือหนังสัตว์ ซึ่งไม่เก็บกักสิ่งที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ได้
  • ในการทำความสะอาดบ้าน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไม้ขนไก่หรือไม้กวาด แต่ควรใช้ผ้าหรือไม้ถูพื้นชุบน้ำทำความสะอาดแทน
  • เลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีน้ำเป็นตัวกักฝุ่นและมีแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง
  • สวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าปิดปากและจมูกเสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นในขณะที่ทำความสะอาดบ้าน
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้องที่เพิ่งทำความสะอาดเสร็จ ควรรออย่างน้อย 20 นาที เพื่อรอให้ฝุ่นที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศตกลงสู่พื้นให้หมด
  • หากมีสัตว์เลี้ยง ควรป้องกันไม่ให้ขนสัตว์จากบริเวณนอกบ้านพัดเข้ามาในห้องนอน
  • ทำความสะอาดบริเวณที่มีราขึ้นด้วยน้ำยาฟอกคลอรีน โดยผสมผงคลอรีน 10 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ภายในบ้าน
  • หากเลี้ยงสัตว์ ควรให้ผู้ที่ไม่เป็นภูมิแพ้ทำความสะอาดกรงของสัตว์เลี้ยง
  • หากต้องการออกกำลังกายในช่วงกลางวัน ให้ทำในช่วงเช้า บ่ายแก่ๆ หรือช่วงเย็นๆ
  • ปิดหน้าต่างรถให้สนิท แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อให้อากาศภายในรถไหลเวียน
  • หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม เพราะพัดลมพัดเอาเกสรดอกไม้ และเชื้อราเข้ามาในบ้าน รวมทั้งไม่ให้ใช้เครื่องทำความเย็นชนิดอังด้วยน้ำ เพราะจะทำให้ห้องเกิดความชื้นได้
  • หากปิดบ้านไว้เป็นเวลานาน เชื้อราอาจจะเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อกลับมาบ้านควรเปิดบ้านให้ลมโกรก และทำความสะอาดเสียก่อน
  • ตรวจสอบภายในบ้านว่ามีอะไรที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อราหรือไม่ เช่น เครื่องทำความชื้นบนพรมที่เปียกชื้น บนพื้นห้องที่ผุ ในถังขยะ บนกระดาษปิดผนังที่เปียกชื้น เป็นต้น ควรกำจัดแหล่งเพาะเชื้อราให้หมด
  • เมื่อใช้เครื่องดูดฝุ่น ควรเลือกใช้ถุงเก็บฝุ่นชนิดถุงหนา 2 ชั้น และแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง
  • หากต้องการไปเที่ยวพักผ่อน ควรเลือกสถานที่ที่มีฝุ่นละออง หรือเกสรดอกไม้น้อย เช่น ชายทะเล
  • ถ้าอาหารบางอย่างทำให้เกิดอาการแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารก่อนซื้อเสมอ เพื่อตรวจสอบส่วนผสม เพราะส่วนผสมบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ถั่ว นม ไข่
  • หากป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดอย่างรุนแรง ควรพักบัตรที่แสดงอาการป่วยของโรคดังกล่าวติดตัวไว้
  • หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ที่มีขน เช่น สุนัข แมว
  • ทำความสะอาดบริเวณที่เปื้อนยางต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นมือ หรือเสื้อผ้า
  • หากต้องการพ่นยาฆ่าแมลง ควรเลือกใช้น้ำยาที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และควรอยู่นอกบ้าน และให้คนที่ไม่เป็นภูมิแพ้เป็นคนพ่นยาฆ่าแมลง เมื่อพ่นยาเสร็จแล้วควรเปิดบ้านให้มีอากาศถ่ายเทสัก 2-3 ชั่วโมง ก่อนกลับเข้าบ้าน
  • ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องครัว และห้องใต้ดินบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเชื้อราภายในบ้าน เพราะห้องเหล่านี้มีความชื้นสูง
  • หลีกเลี่ยงการใช้เตาที่เผาไหม้ด้วยไม้ เพราะควันไฟอาจก่อให้เกิดอาการแพ้
  • คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามคุณครูที่โรงเรียน เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้บุตรหลานของท่านเกิดอาการแพ้ เช่น มีสัตว์เลี้ยงในห้องเรียนหรือไม่ มีแมลงสาบในตู้เก็บของ หรือไรฝุ่นในพรมปูพื้นห้องเรียนหรือไม่
  •  เปิดเครื่องดูดควันเสมอเมื่อทำอาหาร เพื่อลดความชื้น กำจัดควันและกลิ่นอาหาร
  • ซักเครื่องนอน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ในน้ำร้อนประมาณ 50 องศาเซลเซียส สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อกำจัดไรฝุ่น เพราะการเป่าลมร้อนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะกำจัดตัวไรฝุ่นได้
  • หมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในรถ เพื่อกำจัดเชื้อราที่อาจแอบซ่อนอยู่
  • หากต้องการออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรเลือกออกกำลังกายในวันที่ไม่มีลม
  • ติดตั้งพัดลมดูดอากาศภายในห้องน้ำ และเปิดใช้ทุกครั้งที่อาบน้ำ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้ เช่น ควันบุหรี่ หมอกควัน น้ำหอม สบู่ หรือน้ำยาซักล้างที่มีกลิ่นฉุน
  • หากต้องการทาสีบ้านใหม่ ควรเลือกใช้สีน้ำมัน และไม่ควรอยู่ในบ้านในขณะที่ช่างกำลังทาสีบ้าน
  • กรณีที่ต้องย้ายบ้าน ควรแวะเวียนไปบ้านใหม่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อน เพื่อทดสอบว่าไม่มีอาการภูมิแพ้ แต่อย่างไรก็ตามอาการแพ้อาจกำเริบกลับมาอีก แม้ว่าจะไม่มีอาการมาเป็นเวลานานก็ตาม
  • เลือกใช้หมอน ฟูก และผ้าห่ม ที่บุด้วยยางแทนนุ่นหรือขนสัตว์
  • หมั่นทำความสะอาดบริเวณใต้ตู้เย็น ซึ่งเป็นที่สะสมของเศษอาหาร และฝุ่น
  • หมั่นตัดกิ่งไม้ ตกแต่งพุ่มไม้บ่อยๆ เพื่อไม่ให้รกใกล้ตัวบ้านหรือห้องนอน
  • ไม่นำสัตว์เลี้ยงที่มีขน ไว้ในห้องนอนเด็ดขาด
  • หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ได้ ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า