เคล็ดลับการบีบหรือปั๊มนมแม่ การเก็บรักษาน้ำนม

คลินิกนมแม่ ที่ปรึกษาดีๆ สำหรับคุณแม่ เปิดให้บริการแล้ว!

น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของลูก ควรให้ลูกดื่มแต่น้ำนมแม่อย่างเดียว โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานน้ำหรืออาหารอื่นๆ เพิ่มเติม เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของลูกน้อย

‘โภชนาการที่ดี’ สารอาหารและพลังงานเพื่อลูกรัก

การบีบหรือปั๊มนมดีอย่างไร?

  • ป้องกันหรือแก้ไขเต้านมคัด ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct)
  • เพิ่มการผลิตน้ำนม
  • เพื่อให้ได้น้ำนมสำหรับทารก เมื่อมารดาและทารกต้องแยกจากกัน
  • เมื่อทารกไม่ยอมหรือไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้

การบีบน้ำนมด้วยมือ คุณแม่ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด
  • จัดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นรูปตัว U ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน แล้ววางไว้บนเต้านม หัวแม่มืออยู่ที่ตำแหน่งห่างจากฐานหัวนม 3 – 4 เซนติเมตร (2 นิ้วมือ) และนิ้วชี้วางใต้หัวนมห่างจากฐานหัวนม 3 – 4 เซนติเมตร ปลายนิ้วหัวแม่มือ ปลายนิ้วชี้ และหัวนมอยู่ในแนวเดียวกัน
  • ทำการบีบน้ำนม โดยให้ปฏิบัติ 3 จังหวะ ดังนี้

• จังหวะที่ 1 – กดนิ้วเข้าหากระดูกทรวงอก

• จังหวะที่ 2 – บีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหากัน โดยที่นิ้วอยู่หลังลานหัวนม ไม่ไถไปตามผิวหนังและเข้าไปในลานนม ลานนมต้องไม่หยุ่น หรือการหยุ่นของลานนมเวลาบีบน้ำนม เป็นปัจจัยของการเกิดรอยย่นของลานนม

• จังหวะที่ 3 – คลายนิ้วที่บีบโดยนิ้วไม่ถูกยกขึ้นจากผิวหนัง

  • ย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือ รอบๆ ลานหัวนม เมื่อน้ำนมไหลย้อยเพื่อบีบน้ำนมออกให้ทั่วเต้า
  • เปลี่ยนเต้าที่บีบ เมื่อน้ำนมไหลออกน้อยหรือไหลช้า

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม

ประโยชน์ที่สำคัญของการปั๊มนม นอกจากข้อบ่งชี้ที่กล่าวมาแล้ว คือ การเก็บสต็อกน้ำนมให้ลูก เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน คุณแม่จำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าจะต้องบีบเก็บน้ำนมแม่ให้ได้จำนวนมากตั้งแต่แรกคลอด โดยเคร่งเครียดกับการเก็บน้ำนมตั้งแต่สัปดาห์แรกๆ หลังคลอด บางครั้งปั๊มนมขณะให้ลูกดูดนมอีกเต้าหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียโอกาสไม่ได้ลิ้มรสความสุขในการอุ้ม และสัมผัสกับลูกน้อย บางครั้งปั๊มนมจนไม่ได้พักผ่อนและเป็นปัจจัยของการมีน้ำนมน้อย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะนำความสุขมาให้แม่ เมื่อแม่ปฏิบัติด้วยความสุข แต่ถ้าหากคุณแม่มีความเครียด ความวิตกกังวล ขณะบีบน้ำนมหรือปั๊มนม น้ำนมจะมาน้อยหรือไม่มา แม่จึงต้องตระหนักถึงปัจจัยนี้ การปั๊มนมเพื่อเก็บสต็อกไม่ควรทำในสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด ซึ่งเป็นระยะที่แม่ควรนอนพักผ่อน รับประทานอาหารให้เพียงพอเพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก เมื่อลูกหลับและตื่นเป็นเวลาแล้ว จึงเริ่มปั๊มนมและเก็บสะสมน้ำนมก่อนแม่กลับไปทำงาน 2 – 3 สัปดาห์ โดยให้ปั๊มช่วงกลางวัน และควรปั๊มนมทุก 3 – 4 ชั่วโมงและเว้นในช่วงกลางคืน เพื่อไม่ให้แม่อดนอน ยกเว้นเต้านมคัดถ้าไม่ปั๊ม

การปั๊มนมแต่ละครั้งใช้เวลา 15 – 30 นาที จนน้ำนมเกลี้ยงเต้า (เต้านมนุ่ม)


การเก็บหรือสต็อคน้ำนมแม่

  • บีบน้ำนมจากเต้าลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อโดยตรง อาจจะเป็นขวดนมที่นึ่งแล้วหรือถุงเก็บน้ำนม
  • ปริมาณน้ำนมที่เก็บในภาชนะ ให้เก็บเท่ากับปริมาณนมที่ลูกต้องการในแต่ละมื้อ
  • ปิดฝาภาชนะให้มิดชิดทันที หลังเสร็จสิ้นการบีบ
  • เขียนป้ายระบุ วันที่ และเวลา ที่เก็บน้ำนม
  • เก็บไว้ในตู้เย็นส่วนที่เย็นสุดทันที อย่าเก็บไว้ที่ประตูตู้เย็น

หมายเหตุ:

  • ระยะเวลาการเก็บน้ำนมแม่ในตู้เย็น ขึ้นอยู่กับความสะอาดในการบีบเก็บน้ำนม, อาหารที่เก็บอยู่ในตู้เย็น และการ ปิดเปิดตู้เย็น
  • ในการเก็บน้ำนมแม่ ถ้าน้ำนมแม่มีมากและคาดว่าจะต้องเก็บในตู้เย็นนานเกิน 24 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง ซึ่งจะเก็บรักษาได้นานกว่า
  • การเก็บน้ำนมแม่ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส อาจจะสามารถเก็บได้นานกว่า 1 ชั่วโมง แต่เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย ไม่ควรจะเก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ถ้าจะต้องเก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ควรเก็บเข้าตู้เย็นจะปลอดภัยกว่า

การนำน้ำนมแม่ที่บีบเก็บไว้มาให้ลูก (ให้นำน้ำนมที่เก่าสุดออกมาใช้ก่อน) โดยนำไปแช่ในน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ห้ามนำไปอุ่นในน้ำร้อนจัด นำไปต้มหรืออุ่นด้วยไมโครเวฟ เพราะจะทำให้คุณค่าของสารอาหารในน้ำนมบางชนิดสูญหายไป หรือลดน้อยลง


ข้อมูลสุขภาพ แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า