วูบ หน้ามืด หมดสติ!!! สัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ

อาการวูบ ภาวะหมดสติ การสูญเสียความรู้สึกตัวร่วมกับการสูญเสียการทรงตัวชั่วคราว หรือหมดสติไปเป็นเวลานาน เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เนื่องจากระดับโลหิตในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับหูชั้นใน ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาททรงตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิงเวียน และวูบได้ โดยปกติแล้วอาการดังกล่าวมักจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกินนาที แจะฟื้นรู้สึกตัวเหมือนปกติโดยไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง

ระวัง! มีอาการวูบบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย

ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการวูบ มาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น โรคประจำตัวของผู้ป่วย และโรคบางอย่างที่มาจากหูชั้นใน สาเหตุของอาการวูบ เป็นลมหมดสติ แบ่งได้เป็น

อาการวูบที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ เป็นชนิดของอาการวูบที่อาจทำให้เกิดอันตรายรุนแรงมากที่สุด มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน โดยอาจไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่น เช่น แน่นหน้าอก ใจสั่นรุนแรง นำหน้าช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะมีอาการวูบหมดสติ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง อาจเป็นชนิดเต้นช้า หรือเต้นเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ หรือมีประสาทหัวใจลัดวงจร
  • โรคลิ้นหัวใจตีบรุนแรง
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อุดตัน

การตอบสนองต่อระบบประสาทอัตโนมัติมากผิดปกติ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการวูบหมดสติ พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ไม่มีโรคหัวใจใดๆ มักเกิดอาการในขณะที่ตื้นเต้น ตกใจ กลัว เบ่งปัสสาวะ เจ็บปอด หรืออยู่ในที่ร้อนแออัด มักไม่มีอันตรายรุนแรง มีเพียงส่วนน้อยที่พบว่ามีอาการรุนแรงเนื่องมาจากมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติร่วมด้วย

อาการวูบเนื่องมาจากโรคสมอง ได้แก่ โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน

โรคความดันโลหิตต่ำ มีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า มักเกิดอาการหน้ามืดขณะที่ลุกยืนเร็วๆ พบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ

ภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะซีดรุนแรง

มีอาการวูบ หน้ามืด หมดสติ รีบส่งโรงพยาบาลทันที ‼️

  • วูบแล้วหมดสติ วูบแล้วชัก
  • วูบแล้วมีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
  • วูบแล้วหัวใจเต้นผิดปกติ
  • เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • กลืนลำบาก อ่อนแรง ชา เดินเซ

“วูบ” ขณะออกกำลังกาย อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!

หากท่านที่อาการวูบบ่อยๆ ควรรีบเข้ามารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เพื่อทำการักษาอย่างทันท่วงที สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดย

  • การตรวจหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวนด์หัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echo) การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EST) การตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Hotel Monitoring) การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test) การตรวจประเมินหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography)
  • การตรวจระบบสมอง ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEC) การตรวจหลอดเลือดเลี้ยงสมองส่วนคอด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ (Carotid Duplex Scan) การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Brain) การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI & MRA Brain)

⚠️วูบ หน้ามืด หมดสติ 😵‍💫 สัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ตรวจหาสาเหตุ เพื่อป้องกัน และรักษา ก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต ‼️

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการวูบ ขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัย และความเสี่ยงของผู้ป่วยที่จะได้รับอันตรายจากอาการวูบ หรือโรคที่เป็นอยู่ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากหัวใจหรือมีความเสี่ยงเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต จำเป็นจะต้องตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และวางแผนการรักษา เช่น การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่อาการวูบเกิดจากหัวใจเต้นช้ามากหรือหยุดชั่วขณะ การจี้ประสาทหัวใจลัดวงจรในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ การขยายหรือการผ่าตัดแก้ไขหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือลิ้นหัวใจตีบตัน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่ได้มีอาการบ่อย แนะนำให้ดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ โดยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการวูบได้ เช่น

  • การอยู่ในสถานที่อากาศร้อน หรือแออัด
  • สูญเสียน้ำและเกลือแร่
  • รับประทานอาหารปริมาณมากในมื้อเดียว หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายหักโหมมากกว่าปกติ
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาขับปัสสาวะ หากมีอาการดังกล่าวขณะใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์

ข้อมูลสุขภาพ บทความแนะนำ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า