ระวัง! อาการเตือน ความดันสูง-ความดันต่ำ

“ความดันโลหิต” เป็นค่าความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยที่เมื่อหัวใจบีบตัว เราจะได้ค่าความดันตัวบน และเมื่อหัวใจคลายตัว เราจะได้ค่าความดันตัวล่าง ซึ่งค่าความดันโดยปกติ จะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท

อาการเตือนเสี่ยงความดันสูง – ความดันต่ำ

หากวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าสูงจนเกินไปหรือต่ำมาก แสดงว่าอาจมีความเสี่ยงภาวะความดันสูงหรือความดันต่ำ

โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบต่อหลอดเลือดและหัวใจ

หากมีค่าความดันซิสโตลี (ค่าความดันตัวบน) มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) หรือ ค่าความดันไดแอสโตลี (ค่าความดันตัวล่าง) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) โดยวัดในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะพัก นั่นหมายถึงคุณกำลังมีอาการของโรคความดันโลหิตสูง

  • ปวดท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะตุบๆ ปวดศีรษะเฉียบพลัน
  • ใจสั่น ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • นอนไม่หลับ
  • มือเท้าชา ตาพร่ามัว
  • มีภาวะอัมพาต หรือเสียชีวิตฉับพลัน

ความดันสูง ปล่อยไว้นาน ไม่รักษา อันตราย!

ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นาน และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เป็นต้น เพราะความดันโลหิตที่สูงที่เป็นอยู่นาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น และรูเล็กลง ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่เป็นปกติ และหากทำลายรุนแรงมากพอ อาจทำให้เสียชีวิตได้


สังเกตอาการความดันต่ำ ต้องระวัง

ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 (mm/Hg) ในผู้ใหญ่ และในผู้สูงอายุมีค่าความดันต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) มักจะพบในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

  • วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาลาย ตาพร่า
  • มือเท้าเย็น ผิวซีด
  • อ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า
  • ระบบย่อยอาหารไม่ดี
  • หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
  • เวียนศีรษะในท่ายืน
  • กระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย
  • หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
  • ชัก หมดสติ

ความดันโลหิตต่ำ ใครว่าไม่อันตราย! ความดันต่ำ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง โลหิตจาง หัวใจทำงานผิดปกติ ปัญหาต่อมไร้ท่อ อาการแพ้อย่างรุนแรง

อายุเท่านี้ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง? หากพบว่ามีอาการผิดปกติข้างต้นเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที


ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า