ปวดหลังแบบนี้ ป่วยเป็นโรคอะไร!!!


ปวดหลัง เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาการปวดหลัง ในแต่ละบริเวณก็จะมีสาเหตุของการปวดที่แตกต่างกันไป

ปวดหลังส่วนบน
อาการปวดหลังส่วนบน อาจมีสาเหตุมาจากการก้มเล่นมือถือนานๆ หรือการแบกกระเป๋าหนัก

“ชอบสะพายกระเป๋าหนักๆ ข้างเดียว” คนใกล้ตัวของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่?!
การสะพายกระเป๋าไว้ข้างๆ ลำตัว หากกระเป๋ามีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักขึ้น เพราะเราต้องเกร็งกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่ อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ศีรษะตั้งตรง หันไปมาตามต้องการได้ และทำให้เกิดอาการไหล่เอียง ตัวเอียงโดยไม่รู้ตัว

อาการไหล่เอียง เป็นอาการที่ทุกคน โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ชอบสะพายกระเป๋ามักเป็นโดยไม่รู้ตัว หากยังคงมีพฤติกรรมสะพายกระเป๋าหนักๆ ต่อไป จะส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย

ปวดหลังส่วนกลาง
อาการปวดหลังส่วนกลาง อาจเกิดจากการก้มยกของหนัก นอนเตียงนุ่มหรือแข็งเกินไป

ปวดหลังส่วนล่าง
อาการปวดหลังส่วนล่าง อาจมีสาเหตุมาจากน้ำหนักตัวเยอะเกินไป การยืนหรือนั่งนานๆ

อาการปวดหลัง ยังอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือนออกมา อย่านิ่งนอนใจ หากคุณมีอาการปวดหลังอยู่บ่อย ๆ คุณอาจมีความผิดปกติ ดังนี้

  • ปวดหลังหลังจากการยกของหนัก อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ
  • ปวดแนวกระดูกกลางหลัง มักเป็นอาการของหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือเอ็นยึดระหว่างกระดูกสันหลัง
  • ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง อาจเกิดจากกล้ามเนื้อหลังมีความผิดปกติ
  • ปวดหลังร่วมกับมีอาการชา-อ่อนแรง อาจเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท หรือเส้นประสาทผิดปกติ
  • ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต อาจมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทอาจถูกกดเบียด
  • ปวดหลังแบบล้าๆ เมื่อยๆ มีจุดที่กดแล้วปวดมากขึ้น อาจเกิดจากกล้ามเนื้อ

อาการปวดหลังสามารถรักษาได้โดยเริ่มจากตัวเรา เพียงหันมาใส่ใจตนเองสักนิด ปรับพฤติกรรมสักหน่อย คุณก็สามารถจัดการกับโรคปวดหลัง ปัญหาสุขภาพน่ากวนใจนี้ได้ โดยมีคำแนะนำดังนี้

นั่ง ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น และเอนหลังไปที่พนักพิง เพื่อให้ร่างกายถ่ายน้ำหนักบางส่วน ไปที่เก้าอี้แทนที่จะทรงตัวด้วยกระดูกสันหลังเท่านั้น

ยืน ควรยืนให้ขากว้างเท่ากับสะโพก โดยน้ำหนักไปที่ขาทั้งสองข้างเท่ากันเพื่อความสมดุลของร่างกาย

นอน ไม่นอนคว่ำหรือนอนในท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง ควรนอนหงายบนเตียงสบาย ๆ จะทำให้กระดูกสันหลังเรียงตัวได้ดีไม่คดโค้ง โดยเตียงต้องไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป

หากคุณมีอาการปวดหลังเรื้อรังเป็นเวลานานมากกว่า 4 สัปดาห์ อย่านิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ และรับการรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนโรคร้ายมาเยือน


หากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สถาบันกระดูกและข้อ https://bit.ly/2Sc8VlL


ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า