เปรียบเทียบแผลปลูกฝี ไข้ฝีดาษ vs วัณโรค

แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ


การปลูกฝีคืออะไร? การปลูกฝี คือ แผลเป็นที่ได้มาจากการฉีดวัคซีน โดยหลายท่านอาจเข้าใจผิดว่า รอยแผลเป็นที่ตนเองมี มาจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ ใช่หรือไม่!!!

เด็กแรกเกิดในประเทศไทยทุกคนจะต้องรับ วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ฉีดลงใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อวัณโรคชนิดลุกลาม โดยมีตำแหน่งบริเวณหัวไหล่ซ้ายที่ฉีดเป็นประจำ และมักจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ในบริเวณที่ฉีด ด้วยลักษณะของรอยแผลเป็นที่มีคล้ายกับการเป็นฝี จึงเป็นที่มาของการเรียกว่า “การปลูกฝี” ซึ่งแตกต่างกันกับการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษเหมือนสมัยก่อน

เคยสังเกตกันไหมว่า รอยแผลเป็นที่หัวไหล่ของเรามีลักษณะเป็นอย่างไร?

แผลเป็นจากการฉีดวัคซีนวัณโรค (BCG) จะมีลักษณะ “แผลนูน” เนื่องมาจากการสะกิดและฉีดวัคซีนเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง ทำให้มีแผลเป็นที่มีลักษณะนูนขึ้นมา ปัจจุบันเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ทารกแรกเกิดต้องได้รับทุกคน ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะแตกต่างกันกับแผลปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษ ที่เป็นการใช้มีดลักษณะปลายแหลมเล็กฉีดวัคซีนเข้าไป จึงทำให้เกิดรอยบากบริเวณผิวหนัง ผู้ที่ได้รับวัคซีนฝีดาษ (Smallpox) จะมีรอยแผลเป็นที่แบนราบกว่ามีลักษณะ “แผลบุ๋ม” ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ คือ ผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2523 หรือมีอายุมากกว่า 42 ปีขึ้นไป ทุกคนที่เกิดหลังปี พ.ศ.2523 จะไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้ เพราะโรคไข้ฝีดาษได้ถูกกำจัดไปจนหมดแล้ว

แผลเป็นหลังรับวัคซีนฝีดาษ “แผลบุ๋ม”
แผลเป็นหลังรับวัคซีนป้องกันวัณโรค “แผลนูน”

(Reference: Rachel Nall, MSN, CRNA, Sep 2018)

จากการศึกษาวิจัยพบว่า การรับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน 5 เท่า หรือลดโอกาสการเป็นโรคได้ 80-90%สำหรับใครที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2523 ก็ไม่ต้องตื่นตระหนก เราสามารถดูแลตัวเองและป้องกันตัวเองจากโรคฝีดาษลิงได้ แม้ว่าจะไม่ได้รับวัคซีน

  • ออกห่างจากผู้ติดเชื้อ ผู้ที่สงสัยเสี่ยงติดเชื้อ หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย
  • ไม่นำมือไปสัมผัสผื่น ตุ่ม หนอง ของผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ
  • ระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัส รับประทาน และเลี้ยงสัตว์ป่า
  • เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อที่มีโปรตีนหุ้ม ซึ่งสามารถถูกทำลายได้ด้วยแอลกอฮอล์ ดังนั้น เราจึงควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
  • สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่
  • รีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการ

ทำความรู้จัก “โรคฝีดาษลิง” (Monkeypox) แพร่เชื้อ-ติดต่ออย่างไร?


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า