
ผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนแล้วผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0 – 4 นาที
อาการแบบไหนเรียกว่า “ฉุกเฉิน”
- หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
- การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
- ระบบหายใจมีอาการดังนี้ ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจ มีอาการเขียวคล้ำ
- ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรืออาการวูบเมื่อลุกยืน
- อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
- อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรืออาการชักเกร็ง
- ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด เป็นต้น
- ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มีอาการเจ็บท้องคลอด มีมูกเลือด มีน้ำเดิน
ทำอย่างไรเมื่อพบผู้ป่วยฉุกเฉิน
“ผู้ป่วยฉุกเฉิน” จะมีโอกาสรอดและปลอดภัยมากขึ้น หากผู้พบเห็น ปฏิบัติและช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธี เมื่อพบเจอผู้ป่วยฉุกเฉิน ควรปฏิบัติอย่างไร ?
ต้องไม่ลืมว่าการแจ้งข้อมูลเบื้องต้น ถือว่ามีความสำคัญมาก และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการช่วยเหลือขั้นแรก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัยมากขึ้น
