"นิ่วในถุงน้ำดี" เกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี ทำให้เกิดตะกอนแข็งสะสมขึ้นภายในถุงน้ำดี โดยนิ่วที่เกิดขึ้นจะมีขนาดใหญ่ เล็กแตกต่างกัน โดยโรคนี้มักพบในเพศหญิงและผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
เราสามารถสังเกต อาการสัญญาณเตือนของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้ดังนี้
-
ท้องอืด แน่นท้อง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร
-
ปวดเสียดท้อง ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือลิ้นปี และอาจมีอาการร้าวไปที่สะบักขวาหรือหลัง
-
ปวดบริเวณใต้ชายโครงขวามากขึ้น มีไข้ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
-
ผิวและตาขาวมีสีออกเหลือง หรือมีอาการของโรคดีซ่าน
นิ่วในถุงน้ำดี รักษาหายได้หรือไม่?
โรคนิ่วในถุงน้ำดี แม้ว่าจะไม่รุนแรง แต่อันตรายหากปล่อยไว้ จนนิ่วหลุดเข้าสู่ท่อน้ำดี หรือท่อตับอ่อน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งถุงน้ำดีได้ แม้จะเกิดขึ้นได้น้อยก็ตาม เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรละเลยการรักษาโรคดังกล่าว ซึ่งวิธีการรักษานิ่วในถุงน้ำดีที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัด โดยปัจจุบันนิยม 2 วิธี
-
การผ่าตัดด้วยการเปิดหน้าท้อง โดยเปิดช่องท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ความยาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร
-
การผ่าตัดผ่านกล้อง โดยเจาะช่องเป็นแผลขนาดเล็กๆ ประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร จำนวน 3 – 4 จุด ซึ่งช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก หายเร็วขึ้น และไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผ่าตัดโดยการส่องกล้อง https://bit.ly/2B0QYeA