
ระวัง! โรคเหล่านี้สามารถติดต่อกันได้ โดยการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือรับประทานอาหารจากช้อนเดียวกัน
- โควิด-19 ติดต่อผ่านระบบหายใจ จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย
- ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ติดต่อผ่านน้ำมูก น้ำลาย และผ่านการหายใจ ไอ จามรดกัน
- เริมที่ปาก ติดต่อโดยการดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน
- ไวรัสตับอักเสบเอ และ อี ติดต่อผ่านน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ อาหาร น้ำ และของใช้
- คางทูม ติดต่อผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ และรับประทานอาหารร่วมกัน
- ไอกรน ติดต่อผ่านน้ำมูก น้ำลาย และผ่านการหายใจ ไอ จามรดกัน
- คอตีบ ติดต่อผ่านน้ำมูก น้ำลาย และผ่านการหายใจ ไอ จามรดกัน
- อีโบลา ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือด น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
- หัด หัดเยอรมัน ติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย การไอ จามรดกัน
- มือ เท้า ปาก ติดต่อผ่านมือ ของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือผ่านทางการไอ จาม รดกัน
- วัณโรค ติดต่อผ่านเชื้อที่อยู่ในน้ำลาย สารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ อาหาร น้ำ และของใช้
- เฮอร์แปงไจนา ติดต่อผ่านทางน้ำมูก ไอ จาม
- ซารส์ หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ติดต่อผ่านน้ำมูก น้ำลาย และผ่านการหายใจ ไอ จามรดกัน
เพื่อการป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อและเพื่อสุขอนามัยที่ดี เมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกัน ควรใช้ช้อนกลาง และล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
ในแต่ละวัน ควรดื่มน้ำเท่าไรดี?
ร่างกายของมนุษย์เรานั้นมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยประกอบไปด้วยน้ำประมาณร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว โดยเราควรดื่มน้ำในปริมาณที่พอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป เพื่อรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย แล้วเราควรดื่มน้ำวันละเท่าไรจึงจะพอดี สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of sciences – NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine – IOM) ได้ให้คำแนะนำในการดื่มน้ำไว้ดังนี้
- ผู้หญิง ควรดื่มวันละประมาณ 2.7 ลิตรต่อวัน (ประมาณ 11.5 แก้ว)
- ผู้ชาย ควรดื่มวันละประมาณ 3.7 ลิตรต่อวัน (ประมาณ 15.5 แก้ว)
และเพื่อสุขภาพที่ดี ควรดื่มน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนี้