รากฟันเทียม คือ ฟันปลอมติดแน่นชนิดหนึ่ง ทำจากไททาเนียมสกรู ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเดือยฟัน ไททาเนียมเป็นวัสดุที่มีความคงทนสูง และเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้อย่างดี การปลูกรากฟันเทียม เป็นวิธีการรักษาการสูญเสียรากฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์จะทำการฝังรากฟันเทียมเข้าไปในตำแหน่งกระดูกขากรรไกร สร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่ฟัน ทดแทนส่วนของฟันและรากฟันที่สูญเสียไป โดยรากฟันเทียมจะมีส่วนของครอบฟันด้านบนเพื่อทดแทนส่วนของฟันธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฟันธรรมชาติ หรือเสมือนกับฟันธรรมชาติ

รากฟันเทียมทำจากไททาเนียมสกรู ซึ่งสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกาย และช่องปากได้เป็นอย่างดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ สามารถรับแรงบดเคี้ยวได้อย่างมีปนระสิทธิภาพ ยึดเกาะกับกระดูกได้เป็นอย่างดี การทำรากฟันเทียมจะประกอบด้วยวัสดุ 3 ชิ้น ได้แก่ รากฟันเทียมไททาเนียม เสายึด (Abutment) และสกรู (Screw) ซึ่งออกแบบมาสำหรับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับช่องปาก กระดูกรองรับฟัน และตำแหน่งที่จะทำการฝังรากฟันเทียม
ใครบ้างที่ควรทำรากฟันเทียม?
การทำรากฟันเทียมจะเหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีช่องว่างของสันเหงือกซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียฟันแท้ หรือมีอาการเคี้ยวอาหารไม่ถนัด รับประทานอาหารไม่อร่อย ในบางรายอาจรู้สึกเสียความมั่นใจในการยิ้มหรือพูดคุย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาบุคลิกภาพตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่สูญเสียฟันหน้า

แพ็กเกจฝังรากฟันเทียม โดยทันตแพทย์เฉพาะทาง – Dental Implant ราคาเริ่มต้น 55,000 บาท คลิก
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
- ตรวจช่องปากและเอกซเรย์ เพื่อวางแผนการใส่รากเทียม ตำแหน่งรากเทียม ลักษณะและขนาดของรากเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
- ฝังรากฟันเทียมในตำแหน่งฟันที่ได้วางแผนการรักษาไว้
- รอรากเทียมยึดแน่นกับกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 เดือน
- พิมพ์ปากสำหรับเตรียมทำครอบฟันบนรากเทียม
- ทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือทันตกรรมประดิษฐ์อื่นๆ
- ดูแลพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน
ORTHOPANTOMOGRAPH OP 3D เครื่องเอกซเรย์ช่องปากระบบ 3 มิติ
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในการวางแผนการรักษา ซึ่งผู้ป่วยแต่ละท่านจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ สุขภาพเหงือกและช่องปาก และกระดูกรองรับฟันที่เหมาะสม สำหรับการรักษารากฟันเทียมเริ่มจากการเอกซเรย์สามมิติ หรือการทำ CT scan ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูล โดยบ่งบอกถึงคุณภาพและปริมาณของกระดูกได้อย่างแม่นยำ มีความละเอียดสูง โดยสามารถระบุได้ถึงความหนา ความกว้าง และความสูง รวมถึงอวัยวะข้างเคียงรอบๆ ที่จะทำการฝังรากเทียม สามารถมองเห็นเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ เพื่อให้ทันตแพทย์ทราบถึงสภาพของกระดูกรองรับขากรรไกร และช่องว่างในการปลูกรากฟันเทียมได้อย่างเหมาะสม

การรักษาด้วยรากฟันเทียม พบว่ามีอัตราการประสบความสำเร็จสูงถึง 90-95% มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และการใช้งานของผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ยังต้องติดตามผลการรักษา โดยจะต้องมาพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานของรากฟันเทียม
ทพญ.พีรภรณ์ วนาภิรมย์
ทันตแพทย์เฉพาะทางรากเทียม
การดูแลรักษารากฟันเทียม
สำหรับวิธีการดูแลรักษารากฟันเทียม จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะ 1 : ปักรากเทียม
หลังจากที่ทำการฝังรากฟันเทียม ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดและบวม คล้ายๆ กับการถอนฟัน ควรดูแลตนเองโดย
- รับประทานยาแก้ ยาฆ่าเชื้อ
- ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
- หมั่นทำความสะอาดบริเวณรากฟันเทียม
- หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน หรือการบดเคี้ยวในบริเวณดังกล่าว
ระยะ 2 : ครอบฟัน
การครอบฟันบนรากฟันเทียม จะทำให้ผู้ป่วยได้ฟันเทียมที่มีลักษณะเสมือนกับฟันธรรมชาติ ควรดูแลรักษาโดยการแปรงฟันอดย่างถูกวิธี วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และควรพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน และตรวจเช็กสภาวะของรากฟันเทียม

อายุการใช้งานของรากฟันเทียม ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของผู้ป่วย หากดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่ดี เหงือกที่อยู่บริเวณโดยรอบอาจเกิดการอักเสบได้ กระดูกโดยรอบบริเวณฟันจะละลาย จนทำให้รอบรากฟันเทียมไม่สามารถรองรับรากฟันเทียม ส่งผลให้รากฟันเทียมเกิดการโยกและหลุดได้ในที่สุด ดังนั้น ควรดูแลความสะอาดและสุขภาพช่องปากเป็นอย่างดี และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน