“มะเร็งปอด” แม้ไม่สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงเป็นได้

มะเร็งปอด 1 ในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทยทั้งชายและหญิง โดยส่วนมากผู้ป่วยจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นแล้ว

“มะเร็งปอด” แม้ไม่สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงเป็นได้

มะเร็งปอดไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอด ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยง ดังต่อไปนี้

⚠️ ควันบุหรี่มือสอง สูดหายใจเอาควันบุหรี่เข้าปอด ไปเที่ยวตามสถานที่บันเทิง ยืนท่ามกลางฝูงคนที่พ่นควันบุหรี่ตลอดเวลา การสูดเอาควันบุหรี่ของคนอื่นเข้าปอด เผลอๆ จะอันตรายยิ่งกว่าตัวคนสูบบุหรี่เองเสียด้วย

⚠️ กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่

⚠️ สูดดมสารเคมีมากเกินไป มลภาวะทางอากาศ สารเคมีและมลภาวะต่าง ๆ เช่น สารหนู รังสี ไอระเหยต่างๆ หรือการทำงานในโรงงานที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองจากเครื่องจักร ใช้สารเคมีกลิ่นรุนแรงเพื่อผลิตสินค้า หรือการอาศัยใกล้แหล่งโรงงานที่ปล่อยของเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นตลอดเวลา

ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่ ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการ โดยอาการที่พบบ่อย คือ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจสั้น อาจมีอาการปวดตามข้อร่วมด้วย

มะเร็งปอด ภัยเงียบคร่าชีวิต – สาเหตุอาการ และการตรวจวินิจฉัยมะเร็ง


เลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ ลดเสี่ยงมะเร็งปอด

เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวการให้เกิดมะเร็งปอด ดังนี้

  • งดหรือเลิกสูบบุหรี่ : ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย
  • หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง : แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จากการสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง
  • เลี่ยงการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง : การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
  • ไม่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ : จากการศึกษาพบว่า PM 2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่

*รวมถึงพันธุกรรม แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่พบว่า หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด Lung Cancer Screening Program

มะเร็งปอด แม้ไม่ได้สูบบุหรี่ก็สามารถเป็นได้! ดังนั้น มาช่วยกันลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากมะเร็งปอด ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น หมั่นสังเกตอาการของตนเองและคนรอบข้าง และควรตรวจเช็กสุขภาพปอด เพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงที เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่รักษาได้ และจะมีโอกาสหายได้เร็ว หากพบว่าอยู่ระยะที่ 1 หรือ 2


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า