“ปวดไมเกรน” อยู่บ่อยๆ เพราะมีพฤติกรรมเหล่านี้ หรือเปล่า!

“รู้สึกปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ้บ ๆ 
บางครั้งปวดมากจนไม่เป็นอันทำอะไร 
แถมมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย”


“ไมเกรน” อาการที่มาจากพันธุกรรม และมาจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ โดยผู้ป่วยไมเกรนจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้การรับรู้สึกถึงระบบประสาทเกิดความเปลี่ยนแปลงไวกว่าคนปกติ หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นประจำ คุณอาจเข้าข่ายว่าจะเป็น “โรคไมเกรน” ได้

– นอนหลับไม่เพียงพอ –

พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่เป็นเวลา พฤติกรรมการนอนน้อย อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดไมเกรน ดังนั้นคุณควรนอนให้ได้วันละ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และพยายามนอนให้ได้เวลาเดิมทุกคืน

– ความเครียด –

ความเครียด ความกังวลเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดโรคไมเกรน และอาการของโรคจะแย่ลงไปอีก หากคุณทั้งเครียดและเป็นไมเกรนในเวลาเดียวกัน

– กินข้าวไม่ตรงเวลา กินข้าวไม่ครบมื้อ –

หากคุณบริโภคอาหารไม่ครบมื้อ คุณอาจกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นไมเกรนระยะแรกได้ง่าย เพราะการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป จะส่งผลให้รู้สึกปวดศีรษะได้

-กินอาหารบางประเภทมากเกินไป-

รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อดอาหาร หรือรับประทานอาหารบางประเภทมากเกินไป เช่น อาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์ สารกันบูด ผงชูรส ในอาหารจานด่วน ราเม็ง/บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก และอาหารหมักดอง

– ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป –

หากคุณดื่มกาแฟมากเกินไป ก็อาจทำให้อาการไมเกรนแย่ลง แต่ในทางกลับกัน หากคุณเลิกดื่มกลางคัน ก็อาจส่งผลให้คุณรู้สึกปวดหัวไมเกรนขึ้นมาได้ ดังนั้นควรพยายามจำกัดการดื่มในแต่ละวัน ให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะจะดีที่สุด

– อยู่ในที่ ที่มีแสงจ้า-

การที่สายตาโดนแสงแดด หรือหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ในทันที หรืออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมากเกินไป สามารถทำให้อาการไมเกรนของคุณกำเริบได้เช่นกัน

– แพ้กลิ่น –

ผู้ที่มีจมูกไวต่อกลิ่น มักมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรน โดยกลิ่นที่มักเป็นสาเหตุของโรคนี้ เช่น น้ำหอม ดอกไม้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ควันบุหรี่ ฝุ่น เป็นต้น

ปวดหัวอย่านิ่งนอนใจ ปวดหัวแบบไหนต้องไปพบแพทย์!!!

สาเหตุ หรือ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นอาการไมเกรน ในแต่ละคนแตกต่างกันไป อาจเกิดจากสภาวะแวดล้อม อากาศ อาหาร หรือตัวบุคคล โรคไมเกรน แม้ว่าจะรักษาได้ไม่หายขาด แต่สามารถดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการปวด และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้


ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า