ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ – รู้ทันอาการ และการรักษาอย่างถูกวิธี

โรคกระเพาะ (อาหารอักเสบ)” เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่นึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อมีอาการปวดท้อง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการปวดท้องแบบไหนเป็นโรคกระเพาะ (อาหารอักเสบ) ?

ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการปวดท้องกลางท้องช่วงบน ลักษณะการปวด คือ รู้สึกปวดแน่น หรือแสบร้อนสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หลังรับประทานอาหารอาการปวดท้องจะดีขึ้นหรือแย่ลง บางคนมีอาการอิ่มง่าย อิ่มเร็ว ระยะเวลาของการปวดอาจเป็นวันหรือเป็นเดือน หรือมีลักษณะเป็นๆหายๆ

ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ?

  • มีอาการปวดท้องในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • เลือดออกทางเดินอาหาร (อาเจียนมีเลือดปน, ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปน หรือถ่ายอุจาระมีสีดำ), น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, อาเจียนบ่อยๆ ทุกวัน
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาลดกรดแบบเม็ด เป็นระยะเวลา 4 – 8 สัปดาห์หลังการรักษา
  • มีอาการเป็นๆหายๆบ่อยครั้ง, มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารของญาติสายตรงลำดับหนึ่ง (ได้แก่ พ่อ, แม่, พี่, น้อง)

ผู้ที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้นควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะ (อาหารอักเสบ) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อให้คำแนะนำและการรักษาหรือควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเมื่อมีสัญญาณเตือนของมะเร็งกระเพาะอาหาร


ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า