ค่าความเค็มน้ำประปาตอนนี้ สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยโรคไตต้องระวังอาจเสี่ยง! ไตวายได้
“น้ำประปาเค็ม” มี “โซเดียม” สูง ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง ผู้ป่วยโรคไตระวัง! ดื่มน้ำประปาเค็มเสี่ยง!ไตวายได้ เนื่องจากไตทำงานได้น้อยลง การกำจัดเกลือก็จะน้อยตามไปด้วย และยิ่งเสี่ยงที่จะเกิด ภาวะไตวายได้ แล้วอย่างนี้ ผู้ป่วยโรคไต ควรปฏิบัติอย่างไร?
ดื่มน้ำเยอะๆ ดีจริงหรือ?
จริงอยู่ที่ว่า การดื่มน้ำในปริมาณมากๆ จะทำให้ร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า การดื่มน้ำมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวจะเข้าทำลายระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้
ดื่มน้ำเยอะไป อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ส่งผลให้…
- กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
- ไตทำงานหนัก
- หัวใจทำงานหนัก
- เหนื่อยง่าย
- ภาวะโพแทสเซียมต่ำ
- ภาวะโซเดียมต่ำ

ในแต่ละวัน ควรดื่มน้ำเท่าไรดี?
ร่างกายของมนุษย์เรานั้นมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยประกอบไปด้วยน้ำประมาณร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว โดยเราควรดื่มน้ำในปริมาณที่พอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป เพื่อรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย แล้วเราควรดื่มน้ำวันละเท่าไรจึงจะพอดี สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of sciences – NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine – IOM) ได้ให้คำแนะนำในการดื่มน้ำไว้ดังนี้
และเพื่อสุขภาพที่ดี ควรดื่มน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนี้
- ตื่นนอนตอนเช้า ควรจะดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา เพราะจะรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ และควรดื่ม 1-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย
- 15 นาทีก่อนอาหาร ระหว่างทานอาหาร และหลังทานอาหาร 30 นาที ทั้ง 3 เวลานี้ ดื่มน้ำรวมกันทั้งหมดไม่ควรเกินครึ่งแก้ว
- ช่วงสายๆ เวลาประมาณ 9-10 โมงเช้า ควรดื่มน้ำให้ได้ 2 แก้ว เพราะเป็นช่วงที่มีของเสียเกิดขึ้น ควรดื่มน้ำเพื่อชําระของเสียเหล่านั้นออกไป
- ตลอดทั้งวัน การจิบน้ำบ่อยๆนั้น ดีกว่าการดื่มน้ำครั้งละมากๆ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย
- ก่อนนอน ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว เพื่อชะล้างสิ่งตกค้างในลําไส้และกระเพาะอาหาร ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะยิ่งช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น