‘ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ
ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’
บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอน หรือผ่าออก โดยทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมช่องปาก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ
- เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
- เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
- โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
- พยาธิวิทยา – ซีสต์เนื้องอก
- อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
- อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
- ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก
โรคเหงือกอักเสบ อันตรายที่เกิดในช่องปาก
คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัดฟันคุด

ก่อนการถอนหรือผ่าฟันคุด
หลังการถอนหรือผ่าฟันคุด