คำถาม-คำตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด19

ถาม: ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องงดการดื่มชา กาแฟไหม?

ตอบ: “หากใครดื่มกาแฟอยู่เป็นประจำทุกวัน ก็ดื่มได้ คนที่ดื่มประจำร่างกายสามารถปรับตัวได้อยู่แล้ว ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวันต้องงดดื่มกาแฟ แต่ถ้าปกติดื่มนานๆ ครั้ง ไม่ค่อยดื่ม ควรเลี่ยงดื่มกาแฟวันที่ฉีดวัคซีน เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว และบีบเส้นเลือด ความดันจะขึ้นสูง”


ถาม: หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

ตอบ: หลังจากฉีดวัคซีน มักพบปฏิกิริยาเฉพาะ เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายเองได้ แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้ (หลังฉีดควรสังเกตอาการ ณ สถานที่ฉีดอย่างน้อย 30 นาที)

⚠️ อาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ⚠️


ถาม: เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะเป็นโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

ตอบ: “ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว แต่ก็มีโอกาสป่วยได้ เนื่องจากวัคซีนป้องกันไม่ได้ 100% แต่หลังจากฉีดวัคซีน ถ้าเป็นโรค ส่วนใหญ่อาการน้อยลง ลดอัตราการเสียชีวิต ลดความรุนแรงที่จะเข้าโรงพยาบาล”


ถาม: เมื่อฉีดวัคซีนแล้วหากมีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ควรทำอย่างไร ?

ตอบ: “ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำได้ถ้าจำเป็น แต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง”


ถาม: ควรรับประทานยาพาราเซตามอลกี่เม็ด? รับประทานยาพาราเซตามอลอย่างไร ? ให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว

ตอบ: วิธีรับประทานยาพาราเซตามอลให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว

ยาพาราเซตามอลเป็นยาสำหรับแก้ปวดและลดไข้ จัดเป็นยาไม่อันตราย แต่หากมีการใช้ยาพาราเซตามอลที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อตับได้ ดังนั้นเราควรรับประทานยาพาราเซตามอลให้ถูกต้อง โดยรับประทานให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว ดังนี้

▪ น้ำหนัก 35-50 กิโลกรัม (1 เม็ด)
▪ น้ำหนัก 51-67 กิโลกรัม (1 เม็ดครึ่ง)
▪ น้ำหนัก 62 กิโลกรัม ขึ้นไป (2 เม็ด)


(ปริมาณยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก.)

*ข้อแนะนำเพิ่มเติม :
– รับประทานห่างกันอย่างน้อย 4 ชม.
– ใช้ยาเฉพาะเวลามีอาการ
– ไม่ควรรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– ในแต่ละวันไม่ควรรับประทานยาพาราเซตามอลเกินวันละ 8 เม็ด


ถาม: วัคซีน covid-19 ต่างชนิด/ยี่ห้อ สามารถฉีดสลับกันได้หรือไม่?

ตอบ: “ในขณะนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดเดิมไปก่อน จนกว่าจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม (ยกเว้นกรณีที่ไม่สามารถหาวัคซีนชนิดเดิมฉีดได้ หรือมีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนชนิดเดิม)”


ถาม: ผู้มีประจำเดือน สามารถเข้ารับวัคซีน Covid-19 ได้หรือไม่?

ตอบ: “ผู้หญิงที่มีประจำเดือน สามารถเข้ารับวัคซีน covid-19 ได้ตามปกติ ไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการเข้ารับวัคซีน”


ถาม: หญิงตั้งครรภ์ สามารถฉีดวัคซีน covid-19 ได้หรือไม่?

ตอบ: “หญิงตั้งครรภ์ สามารถรับวัคซีนโควิด19 ได้ทุกชนิดในขณะนี้ (เมื่อมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์เป็นต้นไป)”


ถาม: ผู้หญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีน covid-19 ได้หรือไม่?

ตอบ: “หญิงให้นมบุตรสามารถรับวัคซีน covid-19 ได้ทุกชนิด ที่มีในขณะนี้ โดยไม่จำเป็นต้องงดนมแม่หลังฉีดวัคซีน”


ถาม: อาการหลังได้รับวัคซีน covid-19 แบบไหน ที่ควรเปลี่ยนชนิดการให้วัคซีนในครั้งที่ 2

ตอบ: “มีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น ชัก เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก ตาบวม/ปิดไม่สนิท หนังตาตก ใจสั่น อ่อนแรงทั้งตัว หายใจไม่ออก หูอื้อ วิงเวียน คลื่นไส้ เป็นต้น”

⚠️ อาการแบบไหนแพ้วัคซีนโควิด เช็คอาการต้องรู้ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ⚠️


ถาม: เคยติดโควิด-19 และหายแล้ว ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนไหม?

ตอบ: สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว แม้ว่าร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื่อ แต่พบว่าระดับภูมิคุ้มกันนั้นลดลงอย่างรวดเร็วจึงสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก แนะนำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังหายจากอาการป่วย โดยเว้นระยะหลังจากติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน


ถาม: ฉีดวัคซีนโควิด–19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่

ตอบ: “วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่ จึงยังไม่อยากให้ฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่น เพราะหากมีอาการข้างเคียงจะไม่ทราบว่าเกิดจากวัคซีนใด จึงควรฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์หรือ 1 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนด้วย ยกเว้นในกรณีป้องกันโรครุนแรงถึงชีวิต สามารถฉีดได้ เช่น ถูกสุนัขกัด จำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษป้องกันโรคสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันบาดทะยัก”

⚠️ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ⚠️

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกัน และมีโอกาสติดเชื้อร่วมกัน หากติดโควิดร่วมกับไข้หวัดใหญ่ จะทำให้มีความเสี่ยงป่วยรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น ดังนั้น ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วย

วางแผนอย่างไรดี? ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนโควิด


ถาม: Covid-19 หายแล้ว – เป็นซ้ำได้อีกไหม?

ตอบ: “แม้ว่าผู้ป่วยจะเคยติดเชื้อมาแล้ว ก็สามารถ “เป็นซ้ำได้” แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นมีน้อยมาก โดยจากการติดตามในประเทศอังกฤษในบุคลากรทางการแพทย์ เปรียบเทียบกลุ่มที่ติดเชื้อมาแล้ว กับ ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนเป็นระยะเวลา 7 เดือน พบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำใหม่น้อยกว่าผู้ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ร้อยละ 84″


ขอบคุณข้อมูลจาก :
• กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
• ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• สปสช.
• องค์กรอนามัยโลก (WHO)

ข้อมูลสุขภาพ Covid-19
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า