กฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

แพทย์หญิงสร้อยสุวรรณ บรรณสเถียนศรี
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

กฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กฎหมายสำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ – ปัจจุบันมีคู่สมรสหลายคู่ที่ต้องเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จึงเป็นการรักษาที่ช่วยให้คู่สมรสนั้นมีบุตรที่จะมาช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัว และด้วยประสิทธิภาพทางการแพทย์และการรักษาที่มีมาตรฐานนั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงมาก

และเพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม และควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์มิให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ที่ช่วยควบคุมและกำกับมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558

  • การรักษาด้วยวิธีฉีดเชื้อ (IUI) หรือทำเด็กหลอดแก้ว (IVF, ICSI) ต้องมีทะเบียนสมรส
  • ไข่,อสุจิ,ตัวอ่อน  นำเข้าหรือส่งออกไม่ได้
  • โรงพยาบาลที่ให้บริการต้องมีการรับรองมาตรฐานจากกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ มีการตรวจเยี่ยมเพื่อต่อใบอนุญาตทุก 3 ปี ต้องส่งข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมและข้อมูลทางสถิติทุกปี

คุณสมบัติผู้บริจาคไข่

  1. อายุ 20-35 ปี (กรณีเป็นญาติสืบสายโลหิตได้ถึงอายุ 40 ปี)
  2. มีหรือเคยมีทะเบียนสมรส (ยกเว้นเป็นญาติสืบสายโลหิต)
  3. สัญชาติเดียวกับคู่สมรส (หรือสัญชาติเดียวกับสัญชาติเดิมของคู่สมรส)
  4. บริจาคได้ไม่เกิน 3 ครั้ง

(ผู้บริจาคต้องมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจเลือด,ทำอัลตร้าซาวนด์ ก่อนเริ่มการกระตุ้นรังไข่)

คุณสมบัติผู้บริจาคอสุจิ

  1. อายุ 20-45 ปี
  2. ถ้ามีภรรยาตามกฎหมาย ต้องมีหนังสือยินยอม
  3. บริจาคแล้วมีเด็กคลอดมาไม่เกิน 10 ครอบครัว

(ผู้บริจาคต้องมารพ.หรือตรวจเลือด,ตรวจอสุจิ  อสุจิที่บริจาคจะถูกแช่แข็งไว้ 6 เดือน และผู้บริจาคต้องตรวจเลือดหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกครั้ง จึงจะนำอสุจิไปใช้ได้)

คุณสมบัติของหญิงตั้งครรภ์แทน

  1. อายุ 20-40 ปี
  2. สัญชาติเดียวกับคู่สมรส (สามีหรือภรรยา)
  3. เคยมีบุตรมาแล้ว โดยคลอดธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หรือผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง
  4. ได้รับความยินยอมจากสามีตามกฎหมายหรือชายที่อยู่กินกัน
  5. รับตั้งครรภ์แทนจนคลอดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

(คู่สมรสที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทนต้องมีข้อบ่งชี้ว่าไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ฝ่ายหญิงอายุไม่เกิน 55 ปีและต้องมีสัญชาติไทย ถ้าแต่งงานกับต่างชาติต้องจดทะเบียนสมรสมาไม่น้อยกว่า 3 ปี)

(กรณีตั้งครรภ์แทนต้องมีการส่งเอกสารต่างๆไปที่ กลุ่มคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนได้,เมื่อคลอดบุตรแล้วให้นำเอกสารไปแจ้งเกิดที่เขต คู่สมรสจะได้เป็นบิดาและมารดาตามกฎหมาย)


ภาวะผู้มีบุตรยาก – คู่ของคุณเข้าข่ายมีบุตรยากหรือยัง?

เทคนิคช่วยการตั้งครรภ์ สำหรับคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ดีอย่างไร?

บทความทางการแพทย์ ผู้หญิง แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า