โรคภูมิแพ้หูคอจมูก

โรคภูมิแพ้หูคอจมูก  เกิดจากการที่ร่างกายมีการตอบสนองที่รุนแรงผิดปกติที่เรียกว่า ภาวะไวเกิน (Hypersensitivity Reaction) ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักจะปนมากับอากาศ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา  ขนสัตว์ และเกสรดอกไม้  เป็นต้น บางชนิดอาจจะปะปนมากับอาหาร  และบางชนิดก็อาจจะเกิดจากการสัมผัสกับร่างกายโดยตรง ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่ระมัดระวัง หรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และบางส่วนยังพบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการของโรคภูมิแพ้  

โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายได้รับสิ่งกระตุ้น อาการก็จะแสดงแตกต่างกันไปตามระบบหรืออวัยวะที่เกิด

1.อาการของโรคภูมิแพ้ทางตา

มีอาการระคายเคืองในดวงตา คันตา ตาแดง น้ำตาไหล บางรายอาจถึงขั้นตาบวม แสบตา ลืมตาไม่ขึ้น

2.อาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินอาหาร 

มีอาการคันตามช่องปาก  โดยเฉพาะเพดานปาก  อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียนร่วมด้วย

3.อาการของโรคภูมิแพ้ทางจมูก

มีอาการคล้ายผู้ป่วยโรคหวัด เช่น จาม น้ำมูกไหล คันคอ จมูก หายใจไม่ออก มีเสมหะในลำคอ  น้ำมูกไหล บางรายอาจมีอาการคันหู หูอื้อ ร่วมด้วย ถ้าหากไม่มีการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เกิดไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก ติดเชื้อในหูชั้นกลาง หากปล่อยไว้อาจทำให้การได้ยินลดลง

4.อาการของโรคภูมิแพ้ระบบผิวหนัง

เกิดลมพิษ, ผื่นแดง คันตามบริเวณต่างๆ , ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง

5.อาการของโรคภูมิแพ้ระบบหลอดลม

มีอาการของโรคหอบหืด เช่น หายใจไม่ทั่วปอด หรือหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงวี๊ด โดยเฉพาะตอนเวลากลางคืน

วิธีปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

  1. หลีกเลี่ยงและกำจัดสารก่อภูมิแพ้ โดยดูแลความสะอาด สิ่งของ เครื่องใช้ ในบ้านเรือน โดยเฉพาะห้องนอน ต้องจัดให้ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นที่กักเก็บฝุ่น เปลี่ยนผ้าปูที่นอน และปลอกหมอนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
  2. หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองและปัจจัยเสริม ที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ได้ เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย เป็นต้น  
  3. หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน เช่น อากาศเย็นจัด ร้อนจัดจนเกินไป
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. งดดื่มเหล้า และงดสูบบุหรี่

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่คนไทยป่วยเป็นจำนวนมาก เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาของแพทย์  เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่ตามมา เช่น การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง เป็นต้น

            ดังนั้นหากมีอาการของโรคภูมิแพ้ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อที่กล่าวมา อาจสงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัย โดยการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า