ทำไมต้องตรวจสุขภาพ | ตอนที่ 2

โดย นายแพทย์ธงชัย ฉัตรยิ่งมงคล
     แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมและเวชศาสตร์ครอบครัว
     ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพฯ

การตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญอย่างไร?

“การตรวจสุขภาพประจำปี” เป็นกิจกรรมการประเมินภาวะสุขภาพของร่างกายโดยที่ยังไม่มีอาการแสดงที่ผิดปกติ การตรวจสุขภาพเริ่มจากการสัมภาษณ์สอบถามประวัติอาการ ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว และประวัติการแพทย์ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อค้นหาปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและหาแนวทางป้องกันมิให้ภาวะที่ผิดปกติลุกลามออกไป และสามารถควบคุมได้โดยการรับการแนะนำรวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


หลังจากการสัมภาษณ์สอบถามประวัติต่างๆ แล้วแพทย์จะดูลักษณะความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ  ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเพื่อดูลักษณะรูปร่างว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อ้วนหรือผอมเกินไปหรือไม่ ตรวจวัดสายตา การได้ยิน ร่วมกับรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อนำมาประกอบกับปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ก็จะทำให้ทราบว่า ภาวะสุขภาพร่างกายมีความสมบูรณ์ในระดับที่ต้องการหรือยัง

และก่อนที่จะไปทำความเข้าใจผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เครื่องมือในการตรวจมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผลการตรวจถูกต้องแม่นยำ โรงพยาบาลศิครินทร์ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งและได้นำเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุด และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ฉะนั้นจึงทำให้มั่นใจได้ว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลศิครินทร์ จะให้ความเชื่อมั่นและมั่นใจต่อผู้มารับการตรวจได้อย่างดีที่สุด


ต่อไป เราจะมาเรียนรู้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เป็นพื้นฐานทั่วไป โดยเริ่มจาก
1. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และเกล็ดเลือด ( Complete Blood Count ) เพื่อตรวจดูเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ มีภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ หรือภาวะอื่นๆ ที่ดูได้จากความผิดปกติของเม็ดเลือดเช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น 
2. การตรวจกรุ๊ปเลือด ( Blood group ) เพื่อให้ทราบว่าเรามีเลือดกรุ๊ปเอ บี โอหรือ เอบี เพราะว่า กรุ๊ปเลือดจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต
3. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ( Fasting Plasma Glucose ) เพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานหรือไม่ เช่น ถ้าเกิน 126 mg/dl  เพื่อหาแนวทางการดูแลรักษาหรือแนวทางการแก้ไขโดยอาจเริ่มจากการควบคุมอาหาร, การออกกำลังกายก่อนการใช้ยา เป็นต้น
4. การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ( Hb A1c ) เพื่อดูการสะสมของน้ำตาลย้อนหลัง 2 – 3 เดือน ว่าการคุมอาหารและออกกำลังกายดีหรือไม่
5. การตรวจการทำงานของไต ( BUNCreatinine และeGFR ) วัดระดับสารเคมีในเลือดดูความสามารถในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย เพื่อดูหน้าที่ว่าไตปกติ หรือมีภาวะไตเสื่อมหรือไม่
6. การตรวจระดับกรดยูริค ( Uric acid ) เพื่อตรวจภาวะกรดยูริคสูงในร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคเก้าท์ หรือไขข้ออักเสบ หรือก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
7. การตรวจระดับไขมันในเลือด ( Lipid Profile ) คือการตรวจหาระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบทำให้เกิดอัมพาตครึ่งซีก ( Stroke ) ซึ่งไขมันในเลือดมีหลายชนิด เช่น คลอเรสเตอรอล ( Cholesterol ) ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) ไขมันความหนาแน่นต่ำ ( Low Density Lipoprotein ) ซึ่งเป็นไขมันไม่ดีควรอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ และไขมันชนิดดีคือไขมันความหนาแน่นสูง ( High Density Lipoprotein ) ควรให้อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ เพื่อเป็นการป้องกันภาวะหรือโรคดังกล่าวข้างต้น

เป็นอย่างไรบ้างครับรายละเอียดต่างๆ เบื้องต้นของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีประโยชน์มากทีเดียวในการที่จะเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของเรา เพราะว่าความผิดปกติที่พบในระยะเริ่มแรก ขอย้ำอีกครั้งความผิดปกติที่พบในระยะเริ่มแรก อาจสามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเริ่มออกกำลังกายที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่สำคัญคือเริ่มทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวค่อยทำ

CHANGE for a BETTER LIFE … NOW !

      

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า