RSV ไวรัสร้าย ช่วงปลายฝนต้นหนาว

นายแพทย์ธนกร กาญจนประดับ
กุมารแแพทย์โรคระบบหายใจ


ช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว มักมีการระบาดของไวรัสหลายชนิด ซึ่งที่เจอบ่อย ได้แก่ ไวรัส RSV … คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง!!!

RSV คือ อะไร?
RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ โดยติดต่อกันจากการรับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากการสัมผัสหรือละอองน้ำมูกของผู้ป่วยคนอื่น

อาการแสดง

ภายหลังจากที่เด็กได้รับเชื้อ RSV ประมาณ 2-7 วัน เด็กอาจมีอาการแสดงได้ดังต่อไปนี้
• กลุ่มอาการในทางเดินหายใจส่วนบน จะมีอาการคล้ายโรคหวัด ได้แก่ ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ
• กลุ่มอาการในทางเดินหายใจส่วนล่าง อาการจะรุนแรงกว่า เด็กจะมีอาการไอรุนแรง ไอต่อเนื่อง หายใจเหนื่อยหอบ มีหน้าอกบุ๋ม ในบางครั้งอาจได้ยินเสียงหวีด หรือปากเขียวได้ ซึ่งหากรุนแรงมากอาจมีอาการหายใจล้มเหลว ต้องได้รับการช่วยหายใจอย่างเร่งด่วน

ความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับ
อายุของผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีหรือผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี 
โรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคหัวใจพิการ โรคปอดเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สภาพร่างกายภูมิคุ้มกัน

ในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 6  เดือน  อาจมีอาการงอเเง กระสับกระส่าย ไม่กินนม

อาการที่แสดงมีโอกาสป่วยรุนแรง ควรพามาตรวจและพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ได้แก่
ไข้สูงนานกว่า 2 วัน
ไอมีเสมหะปริมาณมาก ไอถี่
หายใจเร็ว หอบเหนื่อย อกบุ๋ม เขียว ได้ยินเสียงหายใจหวีด
ซึมลง ไม่เล่นหรือร่าเริง
ไม่ดูดนมหรือกินอาหาร
หยุดหายใจเป็นพักๆ


การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจตรวจหาเชื้อโดยใช้เสมหะจากบริเวณโพรงจมูกด้านหลัง (nasopharyngeal swab) ในบางรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจจะตรวจเอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูสภาพปอดและทางเดินหายใจส่วนล่างเพื่อประกอบการวางแผนรักษา

การรักษา

• ปัจจุบัน ยังไม่มียาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส RSV 
• ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง คืออาการเหมือนเป็นหวัด ผู้ปกครองสามารถให้การดูแลที่บ้านได้ ได้แก่ ให้ยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ให้ดื่มน้ำและกินอาหารให้เพียงพอ สังเกตอาการไข้ ลักษณะหายใจ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเด็กมีอาการรุนแรงหรือไม่ควรพามาพบแพทย์
• ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณารับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ให้สารน้ำทางหลอดเลือด
• หากมีอาการหอบเหนื่อย เขียว แพทย์จะพิจารณาให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง (high flow oxygen nasal cannula therapy) หรือหากมีการหายใจล้มเหลวจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ

ภาวะแทรกซ้อน

‣ หูชั้นกลางอักเสบ
‣ หลอดลมฝอยอักเสบ
‣ ปอดอักเสบ หรือปอดบวม
‣ หายใจล้มเหลว
‣ เสียชีวิต

การปฏิบัติตัวหลังออกจากโรงพยาบาล

• นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
• ให้ดื่มน้ำ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ มากๆ
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
• รักษาตามอาการ กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่าย
• งดการเดินทาง หยุดเรียน จนกว่าจะหายเป็นปกติ
• ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
• ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม

ทำอย่างไรจึงจะช่วยป้องกัน RSV?

‣ ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม
‣ ล้างมือด้วยน้ำสะอาดเเละสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล บ่อยๆ
‣ ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดมาป้ายตา จมูก
‣ หลีกเลี่ยงบริเวณแออัดที่ที่มีคนเยอะ
‣ หลีกเลี่ยงหอมแก้ม กอด จูบ
‣ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ
‣ ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมา สัมผัสหรือเล่นของเล่นชิ้นนั้น
‣ ไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกัน และหลีกเลี่ยงใช้เเก้วน้ำที่ผู้ป่วยใช้เเล้ว
‣ ทารกควรกินนมแม่
‣ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่

อันตราย! เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร?

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในภาวะครรภ์เสี่ยง อันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อป้องกันเสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์

มีไข้ อาการแบบนี้… ป่วยเป็นอะไรกันนะ?

สังเกตอาการคนรอบตัวหากป่วย และคุณมีอาการแสดงภายใน 7 วัน หรือมีไข้สูงเฉียบพลันขึ้นมา สงสัยไว้ก่อน คุณอาจป่วยเป็นโรคเหล่านี้!

“การฉีดสีสวนหัวใจ” CAG ตรวจหา รักษา หลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบอาจไม่มีอาการ ตรวจได้ด้วยการฉีดสีสวนหัวใจ รู้สึกแน่นหน้าอก ร้าวไปที่ไหล่ คอ คาง แขนซ้าย เหนื่อยเมื่อออกแรง รีบมาพบแพทย์!

ทารกแรกเกิดมีอาการแบบนี้ รีบพามาพบคุณหมอด่วน!

ทารกตัวเหลืองมาก มีไข้ ซึม หายใจเร็วผิดปกติ ไม่ดูดนม ไม่ปัสสาวะใน 24 ชม. สัญญาณอันตราย หากมีอาการแบบนี้ รีบพามาพบคุณหมอด่วน!

บทความทางการแพทย์ แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า