ไขข้อสงสัย Covid-19 และวิธีรับมือ COVID-19

นายแพทย์ธงชัย ฉัตรยิ่งมงคล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมและเวชศาสตร์ครอบครัว
โรงพยาบาลศิครินทร์

ตอบทุกคำถาม ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ #Covid-19
#แชร์ไปให้ถึงคนที่คุณรัก ควรจะรับมืออย่างไร ?
ให้ผ่านช่วงนี้ไปได้อย่างปลอดภัยห่างไกล Covid-19

COVID-19 คืออะไร?

COVID-19 เป็นโรคใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น โดยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Coronavirus โดยเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดไข้หวัด หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นเกิดโรคเกี่ยวกับทางระบบทางเดินหายใจ

โดยทั่วไปอาการของ COVID-19 ที่สังเกตได้อย่างเด่นชัด คือ ไข้ เจ็บคอ ไอ และอาจมีอาการหายใจลำบาก ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดทั่วไป

สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตจาก COVID-19

ส่วนใหญ่แล้วความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่คิดเป็น  80% จะแสดงอาการค่อนข้างน้อย มีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป ซึ่งสามารถหายเองได้  20% จะมีอาการรุนแรง เกิดการติดเชื้อที่ปอด และเกิดอาการปอดอักเสบ สำหรับผู้ที่เสียชีวิตจากสถิติข้อมูลในปัจจุบัน พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัว

COVID-19 แพร่เชื้อได้อย่างไร?

COVID-19 สามารถแพร่เชื้อผ่านทางสารคัดหลั่ง โดยเฉพาะทางปาก จมูก เกิดจากเสมหะ หรือเกิดจากการไอ จาม ออกไป ทำให้สารคัดหลั่งแพร่กระจาย และไปสัมผัสส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทั้งในอากาศ หรือติดที่พื้นผิวต่างๆ ซึ่งในพื้นผิวแต่ละที่เชื้อไวรัสจะมีอายุและระยะเวลานานแตกต่างกัน อาทิเช่น พื้นที่บริเวณที่มีอากาศร้อน แห้ง เชื้ออาจจะตายภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ขณะเดียวกัน ในพื้นที่บริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น มีความชื้น เชื้ออาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 4 – 5 วัน ดังนั้น สิ่งต่างๆ ที่ถูกสารคัดหลั่งเหล่านี้ไปสัมผัส เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงการไปสัมผัสเพื่อไม่ให้เชื้อโรคอยู่ที่มือของเรา และลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ

หากมีอาการ เช่น มีไข้ขึ้น เจ็บคอ ไอแห้ง หายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยหอบ ควรจะต้องไปพบแพทย์ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการซักประวัติร่วมด้วย ว่ามีการเดินทางกลับมาจากประเทศเสี่ยงหรือไม่ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่กลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ หรือได้มีการสัมผัสกับบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่มีการแออัด

COVID-19 รักษาให้หายเป็นปกติได้ไหม?

สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง มีอาการไม่มาก โดยทั่วไปสามารถรักษาหาย กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ในสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เชื้อไวรัสจะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้นกว่าปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ หรือมีอายุมาก จะใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าปกติอีกเท่าตัว จึงจะหายกลับมาเป็นปกติได้

เจลล้างมือ VS สบู่ แตกต่างกันอย่างไร?

อย่างที่เราทราบกันว่าการล้างมือ เป็นหนึ่งวิธีการป้องกันเชื้อ COVID-19 โดยหากเราได้มีการสัมผัสสารคัดหลั่งที่เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทำการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ และควรล้างทุกส่วนของมือทั้งหมด โดยใช้เวลาอย่างน้อย 40 – 60 วินาทีในการล้างมือ หากคิดว่าเรามีโอกาสสัมผัสแต่อาจมองไม่เห็นสารคัดหลั่งต่างๆ ให้ทำการล้างด้วยเจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ 70% ซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลา 20 – 40 วินาที ทั้งสองสิ่งสามารถทำการฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี ขึ้นอยู่กับว่ามือของเราได้สัมผัสสารคัดหลั่งหรือไม่ หากสัมผัสสารคัดหลั่งอย่างชัดเจน ควรทำการล้างด้วยน้ำกับสบู่

ข้อปฏิบัติเมื่อต้องกักตัว 14 วัน

ผู้ที่ต้องทำการกักตัว 14 วัน คือ ผู้ที่มีความสงสัยจะมีโอกาสป่วยเป็นโรค COVID-19 ดังนั้น ถ้าสงสัยว่าป่วย มีการแสดงอาการ การกักตัว ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยจะต้องมีจิตสำนึกในการกักตัวอย่างเคร่งครัด แยกตัวเองออกจากผู้อื่น ไม่ไปสัมผัสกับผู้อื่น ห้องที่ทำการกักตัว ควรมีอากาศถ่ายเทที่ดี ไม่อับชื้น อุณหภูมิไม่เย็นมากจนเกินไป สำหรับเรื่องการรับประทานอาหาร ควรจะมีการแยกจานแยกช้อน ใช้ช้อนของตนเอง ไม่ใช้ช้อนหรือภาชนะร่วมกันกับผู้อื่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายต้องทำการแยกซัก อาจซักด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และหากมีอาการไอ จาม ให้ใช้
ทิชชูและทิ้งในถังขยะที่ปิดสนิทเพราะถือเป็นขยะติดเชื้อ หากไม่มีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรอยู่แต่ในบ้าน แต่หากจำเป็นต้องออกจากบ้าน ให้ใส่หน้ากากอนามัย และซื้อของใช้ที่เท่าที่จำเป็น อย่าอยู่ข้างนอกนานจนเกินไป เพราะหากเราเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแล้ว จะยิ่งทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อกับผู้อื่นเพิ่มมากยิ่งขึ้น

การป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดจาก COVID-19

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ เริ่มต้นจากการป้องกันตัวเองก่อน ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่มีความเสี่ยง ให้รับประทานอาหารที่ร้อน สุกใหม่ๆ รับประทานช้อนของตัวเอง พยายามล้างมือบ่อยๆ ถ้าเกิดจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในสถานที่ชุมชน ควรใส่หน้ากากอนามัย

สิ่งที่คุณหมออยากฝากถึงทุกคนในช่วงวิกฤติ COVID-19

อยากให้ทุกคนมีจิตสำนึกในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม ควรช่วยเหลือกัน และมีการป้องกันอย่างเคร่งครัด ถ้ารู้ว่าตนเองอาจจะไปแพร่เชื้อ ควรต้องทำการกักตัวให้ครบ 14 วันเป็นอย่างต่ำ ไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นแพร่เชื้อมายังเราด้วย และสำหรับใครที่ต้องเดินทางกลับบ้าน ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส และเว้นระยะห่างทางสังคม หรือSocial Distancing โดยการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร ให้ทักทายกันระยะไกล ซึ่งถือเป็นการช่วยกันรับผิดชอบต่อสังคม และจะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้

“ศิครินทร์” เปิดให้บริการผู้ป่วยนอก (OPD) ประกันสังคม 24 ชั่วโมง

พร้อมดูแลผู้ประกันตนทุกท่าน เจ็บป่วยไม่ต้องกังวล เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ (OPD) ตลอด 24 ชั่วโมง

Kepp being HAPPY, Keep Healthy – โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี BUY1 GET1

การตรวจสุขภาพช่วยดูแลสภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย หาสาเหตุและความผิดปกติที่สามารถพบได้เริ่มต้นโดยที่ยังไม่แสดงอาการก่อนที่จะลุกลามไปมากจนแสดงอาการออกมา

ผู้ประกันตนตรวจสุขภาพฟรี ตรวจอะไรได้บ้าง?

สิทธิสำหรับผู้ประกันตนทุกท่าน ตรวจสุขภาพฟรีตามเงื่อนไขช่วงอายุ โดยยื่นบัตรประชาชนเพื่อเข้ารับบริการ ไม่มีค่าใช้จ่าย ตรวจอะไรได้บ้าง เช็กรายการตรวจกัน

โควิดลงปอด อาการเป็นอย่างไร? ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อโควิดลงปอด

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงสงสัยว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน? อาการหนักหรือไม่? มีภาวะเชื้อไวรัสลงปอดหรือยัง? ฟังคำแนะนำวิธีเช็กอาการโควิดลงปอดได้ที่นี่

“ป่วยเป็นโควิด” ตอนนี้คุณอยู่ในระดับไหน? ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว-เหลือง-แดง หมายถึงอะไร?

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพื่อการดูแลและรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง

คำถาม-คำตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด19

รวมคำถามชวนสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด – หายแล้วเป้นซัำได้ไหม – ฉีดพร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ – ถ้าติดชากาแฟฉีดได้ไหม – หลังฉีดวัคซีนแล้วมีไข้ควรทำอย่างไร?

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน

เลือกประกันสังคม “โรงพยาบาลศิครินทร์” เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ได้ทุกสาขา ร่วมดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางครบทุกสาขา และทีมสหสาขาวิชาชีพมากประสบการณ์ พร้อมสิทธิสำหรับผู้ประกันตน ด้วยมาตรฐานการให้บริการเครือศิครินทร์

การรับวัคซีนเด็กในยุค COVID-19

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ผู้ปกครองหลายท่านอาจมีความกังวลในเรื่องของความเสี่ยงจากการเดินทางมารับวัคซีนที่โรงพยาบาล แต่ถ้าหากเลื่อนการฉีดวัคซีนในอายุที่ควรได้รับ อาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลศิครินทร์

สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ “ศิครินทร์” โปรแกรมตรวจสุขภาพในหลายมิติ เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพศ อายุ และปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ รวมถึงโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงหรือความผิดปกติและนำไปสู่การวางแผนเพื่อป้องกันการเกิดโรค เพราะเราเชื่อว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาทำให้รู้สึกอุ่นใจและคลายกังวลจากปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เลือกประกันสังคมโรงพยาบาลศิครินทร์ ประจำปี 2564′

เลือก “โรงพยาบาลศิครินทร์” เป็นสถานพยาบาลประกันสังคม 2564 เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ทุกสาขา – ขั้นตอนการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมด้วยตนเอง

เลี่ยง! ลด! อาหารเหล่านี้…ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่

รู้หรือไม่ว่า? อาหารที่อุดมด้วยไขมัน และแคลอรี มักมีเส้นใยอาหารน้อย และเป็นตัวการสำคัญที่จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่

“มะเร็งตับ” ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

“มะเร็งตับ” เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ซึ่งโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยมีการแสดงอาการ กว่าจะทราบว่าเป็นมะเร็งตับก็มักพบว่าอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว

ป้องกัน “Covid-19” ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี

การใส่หน้ากากอนามัย วิธีในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโควิด-19 แต่หน้ากากอนามัยที่เราใส่อยู่นั้น ใส่ถูกวิธีและช่วยป้องกันเชื้อโรคได้จริงหรือไม่?

วิธีการป้องกัน รับมือ “ไวรัส COVID-19”

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโรคซาร์สมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ หากมีิอาการเสี่ยง รีบไปพบแพทย์ทันที!!!

“ล้างมือบ่อยๆ” ป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

เพราะมือเป็นสิ่งที่เราใช้จับ สัมผัสสิ่งของต่างๆ มากที่สุด หากสัมผัสกับเชื้อไวรัสและนำมือมาสัมผัสบริเวณหน้า ตา จมูก ปาก ก็อาจทำให้ติดเชื้อได้

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า