เทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้อง รักษานิ่วในถุงน้ำดี

 

เทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง รักษานิ่วในถุงน้ำดี

"แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว"

 

ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะบริเวณช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำดี ทำให้น้ำดีเข้มข้นเพื่อพร้อมสำหรับย่อยไขมัน

 

"โรคนิ่วในถุงน้ำดี" มีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารไขมันสูง ทำให้ตับผลิตน้ำดีออกมาย่อยสลายไขมันไม่เพียงพอกับปริมาณไขมันที่ร่างกายรับเข้า ไขมันที่ย่อยสลายไม่หมดจึงตกตะกอนและจับตัวเป็นก้อนนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี   

 

อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

โดยทั่วไปแล้วนิ่วในถุงน้ำดีไม่ก่อให้เกิดอาการ ผู้ป่วยมักจะทราบว่าเป็นโรคก็ต่อเมื่อมาตรวจสุขภาพหรือพบแพทย์ด้วยปัญหาสุขภาพอื่น ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นหากก้อนนิ่วติดค้างอยู่ที่ปากทางออกของถุงน้ำดีและเกิดการอุดตัน อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ร่วมด้วย โดยคนที่ป่วยเป็นโรคนิ่ว มักมีอาการ

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณช่วงท้องส่วนบนหรือปวดท้องด้านขวา อาจมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบักหรือปวดไหล่ด้านขวา
  • เมื่อถุงน้ำดีอักเสบ  จะมีอาการปวดท้องมากขึ้น ปวดบริเวณยอดอก (Epigastrium) และปวดร้าวทะลุไปยังบริเวณหลังหรือไหล่ขวา ปวดท้องแบบบิดถึงขั้นตัวงอ มีไข้ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วย
  • มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • อาการทางระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อ มีลมในกระเพาะอาหาร โดยมีอาการจุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หลังรับประทานอาหารมันหรือมื้อที่กินมากกว่าปกติ

 

อาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจปวดเป็นเวลาหลายนาที ไปจนถึงหลายชั่วโมง  แต่มีอาการที่ควรสังเกตที่จะต้องรีบมาพบแพทย์ ได้แก่

  • ปวดท้องอย่างรุนแรงจนทำให้ไม่สามารถนั่งได้หรือไม่สามารถนั่งในท่าที่สบายได้ติดต่อกันนานกว่า   4-6 ชั่วโมง
  • ผิวเหลืองหรือตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
  • มีไข้และหนาวสั่น

 

ใครบ้างเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

โรคนิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ  30 – 60 ปี โดยกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีดังนี้

  •     เพศหญิง 40 ปีขึ้นไป
  •     ภาวะอ้วน น้ำหนักมาก
  •     คอเลสเตอรอลสูง
  •     โรคเบาหวาน
  •     โรคเลือด โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย
  •     ตั้งครรภ์หลายครั้ง
  •     กินยาคุมกำเนิด
  •     ทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน
  •     ผู้ที่อดอาหาร (ถือศีลอด) หรือลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  •     พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี (เสี่ยง 2 เท่าของคนปกติ)

 

ป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี

ดังนั้น จึงควรจะรู้วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือถ้าป่วยแล้วแต่ยังไม่พร้อมผ่าตัด ก็สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการลุกลามได้

  • งดอาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมในร่างกายได้ดีขึ้น
  • งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่
  • ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการที่ทำให้น้ำหนักลดลงรวดเร็ว เนื่องจากตับจะต้องขับไขมันออกมาในปริมาณมาก และเมื่อขับน้ำดีออกมาย่อยสลายไขมันไม่ทัน ไขมันที่คั่งค้างจะส่งผลให้เกิดนิ่วได้

 

การตรวจวินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดี

  •     การซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย

  •     การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ
  •     การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน

     

การตรวจที่ดีที่สุดคือการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน จะทำให้เห็นรายละเอียดของก้อนนิ่วในถุงน้ำดีได้ชัดเจน

 

แนวทางการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

 สำหรับคนที่มีร่างกายแข็งแรง หรืออายุยังน้อย (**ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีโดยที่ไม่เคยมีอาการปวดท้องตามข้างต้นมาก่อน**) ก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัด  เพราะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้นมีต่ำ ประมาณร้อยละ 1-3 ต่อปีเท่านั้น แต่ควรคอยตรวจและติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ

 

ในกรณีที่มีเริ่มมีอาการแสดงได้แก่ อาการปวดจุก แน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย รวมถึงอาการปวดท้องต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงหลังกินอาหาร แสดงว่านิ่วในถุงน้ำดีเริ่มก่อกวนร่างกาย หากปล่อยไว้นานจนเกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบจะทำให้มีไข้ขึ้น และปวดมากยิ่งขึ้น อาการลักษณะนี้ควรได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy, LC)

 

เมื่อไรจึงจำเป็นต้องผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

การรักษาผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีและมีอาการ การผ่าตัดถุงน้ำดีออกเป็นวิธีการที่ดีต่อผู้ป่วยที่สุด

  1. ในรายที่มีอาการแต่ไม่มีภาวะถุงน้ำดีอักเสบพิจารณาผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง แบบ Elective เมื่อผู้ป่วยพร้อม
  2. ในรายผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีและมีการอักเสบ (Acute Cholecystitis) ด้วยนั้น กำหนดเวลาว่าจะผ่าตัดเมื่อไร ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมานานเท่าไร สุขภาพและภาวะร่างกายผู้ป่วยในขณะนั้น และความสามารถของแพทย์ โดยทั่วไปมีหลักคือ
            – ถ้าผู้ป่วยมาหาแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากมีอาการ และไม่มีข้อ ห้ามอื่น ๆ แนะนำให้พิจารณาผ่าตัดเลย
            – ผู้ป่วยที่มีปัญหาของโรคอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการผ่าตัดฉุกเฉินอาจ จะพิจารณาให้การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะก่อน และพิจารณาผ่าตัด เมื่ออาการแย่ลง
           – ผู้ป่วยที่มีอาการมานานกว่า 72 ชั่วโมง อาจจะพิจารณารักษาโดยการให้ ยาปฏิชีวนะก่อน ถ้าไม่ดีขึ้นให้พิจารณาผ่าตัด ถ้าดีขึ้นจะนัดผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง แบบ elective อีก 4-6 อาทิตย์ถัดไป

 

“ทั้งนี้หากศัลยแพทย์มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ อาจทำการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง Urgency ได้ทุกช่วงเวลาอย่างปลอดภัย”

 

การผ่าตัดรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี มี 2 วิธีการดังนี้

  1. การผ่าตัดด้วยการเปิดหน้าท้อง  เป็นการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกด้วยการเปิดแผลทางหน้าท้องบริเวณใต้ซี่โครงด้านขวา ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบรุนแรง ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือพบก้อนนิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีที่ไม่สามารถเอาออกด้วยการกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) ร่วมด้วย การผ่าตัดวิธีนี้ผู้ป่วยจะใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาล ประมาณ 3-5 วัน และพักงานประมาณ 1 เดือน

  2. การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง เป็นวิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีตามมาตรฐานในปัจจุบัน และเป็นวิธีที่นิยมใช้ เนื่องจากบาดแผลมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดระยะเวลาในการผ่าตัด จึงฟื้นตัวไว ลดเวลาการนอนในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด นอนดูอาการที่โรงพยาบาลเพียง 1 – 2 วัน พักงานอีก 1 สัปดาห์ก็กลับไปทำงานได้เป็นปกติ และด้วยกำลังขยายและความคมชัดของการผ่าตัดส่องกล้องทำให้เห็นกายวิภาคที่ชัดเจน  มีความแม่นยำและปลอดภัยกับผู้ป่วยมากขึ้น เพียงแต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด

 

โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ มีความพร้อมในการให้บริการการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง โดยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้อง ด้วยเครื่องมือผ่าตัดที่มีความทันสมัย  ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ ยังได้ออกแบบขึ้นเพื่อการผ่าตัดส่องกล้องโดยเฉพาะ จึงมีการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น การันตีโดยการได้รับรองมาตรฐาน

 

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผ่าตัดโดยการส่องกล้อง โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ คลิก

 กับ พญ.กมเลส  ประสิทธิ์วรากุล

 

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า