การบาดเจ็บและการรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าบาดเจ็บ

     การบาดเจ็บและการรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าบาดเจ็บ Patient Information Hand-out & Post-operative Instructions

เอ็นไขว้หน้าคืออะไร อยู่ตรงไหน มีหน้าที่อะไร ? เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament) เป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหัวเข่า ยึดระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง เพื่อป้องกันการขยับในแนวหน้าหลัง และป้องกันการบิดหมุนที่มากเกินไปของหัวเข่า เอ็นไขว้หน้าจึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงของหัวเข่าโดยเฉพาะเวลาเล่นกีฬาที่ต้องมีการบิดหมุนข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป็นต้น
 
เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บพบได้บ่อยหรือไม่ ?
     เอ็นไขว้หน้าเข่าขาดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยในสหรัฐอเมริกา มีการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าปีละประมาณ 200,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พบบ่อยในช่วงอายุ 15-25 ปี ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีการผ่าตัดส่องกล้องสร้างเอ็นไขว้หน้าปีละมากกว่า 100 ราย.
 เอ็นไขว้หน้าขาดมักมีสาเหตุจากการเล่นกีฬาและเกิดการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ทำให้เส้นเอ็นเกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้

หากเอ็นไขว้หน้าขาดจะมีอาการอย่างไร?
     โดยปกติเอ็นไขว้หน้ามักเกิดในช่วงที่เล่นกีฬาและมีการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ผู้ที่เอ็นฉีกขาดบางคน ได้ยินเสียงดังบริเวณหัวเข่าเหมือนมีบางสิ่งขาด หลังจากนั้นจะมีอาการปวดบวมบริเวณเข่าที่มีอาการ มักจะเดินลงน้ำหนักไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ แต่มีผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้มาพบแพทย์ในช่วงแรก
หลังจากเอ็นหัวเข่าฉีกขาด อาการปวด อักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆดีขึ้น อาการปวด บวมค่อยๆลดลง โดยทั่วไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดปกติ แต่จะมีอาการเวลาที่หัวเข่าต้องบิดหมุน เช่น เดินเร็ว ขึ้น/ลงบันได วิ่ง เล่นกีฬาเป็นต้น 

แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้อย่างไร
     โดยทั่วไปศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะเอ็นไขว้หน้าขาดได้โดยการซักประวัติและตรวจวินิจฉัยภาวะเอ็นไขว้หน้าขาดได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ซึ่งมีการตรวจร่างกายหลายอย่างเพื่อประกอบการวินิจฉัย
    การถ่ายภาพทางรังสีปกติ ( Plain X-Ray) ไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัย แต่ไว้สำหรับตรวจหาความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะกระดูกหัก
     คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยวินิจฉัยและตรวจอาการบาดเจ็บร่วมที่พบร่วมกันได้ เช่นกระดูกอ่อนบาดเจ็บ หมอนรองเข่าฉีกขาด

เมื่อเอ็นไขว้หน้าขาด ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่?
     โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าขาด ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่อาจจะเกิดภาวะข้อเข่าเคลื่อน (Give way / subluxate) ในกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนของหัวเข่า และที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าขาดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อนหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันสมควร  การรักษาโดยการไม่ผ่าตัดจึงเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการทำกิจกรรมที่ใช้หัวเข่ามากนัก และสามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้เหมาะกับเข่าที่ไม่สามารถบิดหมุนรุนแรง  ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดก็จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยอายุน้อย และต้องการกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน และ กีฬาในระดับใกล้เคียงกับก่อนการบาดเจ็บ

ผ่าตัดอะไรอย่างไร?
     เอ็นไขว้หน้าฉีกขาดส่วนใหญ่ไม่สามารถเย็บให้ไปติดกันใหม่ได้ จึงต้องสร้างเส้นเอ็นใหม่โดยแพทย์จะใช้เส้นเอ็นจากบริเวณอื่นที่ใช้งานน้อยปลูกถ่ายแทนเส้นเอ็นที่ขาด ซึ่งเป็นโครงสร้างใหม่ให้เซลล์ได้ยึดเกาะเพื่อจะเติบโตเป็นเอ็นไขว้หน้าต่อไป
การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าปัจจุบันใช้วิธีการส่องกล้องผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า (Arthroscopic ACL reconstruction)  และใช้เส้นเอ็นจากตำแหน่งอื่นมาทำเอ็นไขว้หน้าใหม่ โดยเอ็นที่นิยมได้แก่ เอ็นลูกสะบ้า (patellar tendon)เอ็นหลังหัวเข่า (Hamstrings) เอ็นเหนือหัวเข่า (Quadriceps tendon) หรือสุดท้ายคือเนื้อเยื่อปลูกถ่ายจากผู้บริจาค ซึ่งในประเทศไทยยังไม่ทำวิธีนี้
คนไข้ควรปรึกษาศัลยแพทย์กระดูกเพื่อช่วยในการเลือกเส้นเอ็นปลูกถ่ายที่เหมาะสมกับคนไข้

เข้ารับการผ่าตัดต้องอย่างไร จะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เมื่อไหร่
     ก่อนการผ่าตัดควรเลิกสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากทำให้เส้นเอ็นหลวม ติดช้า หรือไม่ติด ภายหลังการผ่าตัด ต้องมีการทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนหัวเข่ารุนแรงจนกว่าแพทย์ผู้ผ่าตัดอนุญาต

โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด
  • 1  เดือนหลังผ่าตัดให้ใช้ไม้เท้า และสนับเข่า
  • 1.5 เดือนหลังผ่าตัด หยุดใช้ไม้เท้าและสนับเข่า
  • 3  เดือนหลังผ่าตัด เดินเร็วได้
  • 6-9  เดือนหลังผ่าตัด ทำกายภาพบำบัดให้เหมาะสมกับกีฬาแต่ละแบบ
  • ประมาณ 1 ปีหลังผ่าตัด สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแพทย์จะปรับให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
 
 
 
บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า