นายแพทย์ธีระศักดิ์ ศรีเฉลิม
ศัลยแพทย์ทรวงอก
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ อาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ (สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน หรือที่เราเรียกว่า อาการหัวใจวาย นั่นเอง)
สาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรค
- พันธุกรรม สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- อายุ ที่เพิ่มมากขึ้นจากสถิติพบในเพศชายอายุ ตั้งแต่ 40 ปี และเพศหญิงตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
- เพศ จากสถิติพบว่าเพศชายมีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง
- การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง
- โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน
ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ “ เจ็บแน่นหน้าอก” อาจเป็นภัยเงียบของเส้นเลือดหัวใจตีบ พบแพทย์ด่วน
สัญญาณเตือนโรคหัวใจขาดเลือด
สำหรับใครที่มีอาการเจ็บหน้าอก สงสัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่? สามารถสังเกตอาการซึ่งเป็นสัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ดังนี้
- เจ็บหน้าอก (Chest Pain) ทั้งแบบทันทีทันใดหรือเจ็บเป็นๆ หายๆอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ค่อยออก อึดอัด จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เจ็บแน่นคล้ายของหนักมากดทับ หรือบีบรัด อาจร้าวไปบริเวณต่างๆ เช่น คอ หัวไหล่หรือแขนด้านซ้ายมักเป็นนานติดต่อกันมากกว่า 20 – 30 นาที นั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- เหนื่อยขณะออกแรง(Dyspnea)
- เหนื่อย เพลีย นอนราบไม่ได้ (Congestive Heart Failure)
- หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น (Unconscious or Cardiac Arrest)
โรคหัวใจรักษาได้ วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Cardiac Catheterization Lab ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ
เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐาน และให้ผลที่แม่นยำสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด “ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ” ห้องพิเศษที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ผู้ที่มีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นครั้งแรก จะรู้สึก “เจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย หรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติโดยหาสาเหตุไม่ได้” ควรรีบพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง พร้อมทั้งจะได้รับการรักษา และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ยังดีอยู่จะได้ทำงานเป็นปกติต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม การป้องกันไม่ให้เกิดโรค คือ วิธีที่ดีที่สุด ซึ่งเราสามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
- ไม่สูบบุหรี่
- ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงอาหารหวาน และเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
- ทานอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ปลาทะเล ผักใบเขียว และผลไม้ อัลมอลด์ ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชไม่ขัดสี อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
- ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจให้ผ่องใส
- หมั่นตรวจเช็กสุขภาพของตนเองเป็นประจำ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี
ไม่กินผัก ผลไม้ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ!