แพทย์หญิงกัลยรัตน์ โอภาสวานิช
สูตินรีแพทย์
โรคกระดูกพรุน คืออะไร?
เป็นโรคที่ทำให้มวลกระดูกลดลงร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก ทำให้กระดูกมีลักษณะเปราะบางและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซึ่งส่งผลต่อให้คุณภาพชีวิตแย่ลง แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้ว แต่ส่วนหนึ่งก็ยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนดังเดิม อีกทั้งยังสามารถหักซ้ำ และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้
โรคกระดูกพรุนสามารถตรวจได้ด้วยการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก กระดูกที่มีค่าความหนาแน่นหรือมวลกระดูกน้อยจะมีลักษณะเปราะบาง และมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักง่าย
สำหรับเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้สูญเสียมวลกระดูกไปอย่างรวดเร็ว
อาการของโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ มักพบอาการเมื่อกระดูกหักแล้ว โดยบริเวณที่พบกระดูกหักได้บ่อยจากโรคกระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกข้อสะโพก ข้อมือ หลัง ต้นแขน ข้อเท้า
ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ หญิง
หญิง 65 ปีขึ้นไป ชาย 70 ปีขึ้นไป
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
มีประวัติกระดูกหักที่เกิดจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย
ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็วก่อนวัยอันควร (ก่อนอายุ 45 ปี)
2.ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ ผอม โครงร่างเล็ก
สูบบุหรี่
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำ
ขาดสารอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม
ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
มีโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น สเตียรอยด์
ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนต่ำ
ควรเริ่มตรวจมวลกระดูกเมื่อใด ?
แนะนำให้เริ่มคัดกรองในผู้หญิงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีประวัติกระดูกหัก หรือรับประทานยาเช่น สเตียรอยด์ เป็นประจำ หรือพ่อแม่มีประวัติกระดูกข้อสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนมาก่อน ก็แนะนำ ให้ตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อวินิจฉัยก่อนได้
คำแนะนำจากคุณหมอ
- ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนทุกรายควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูกร่วมกับการตรวจเลือดประเมินระดับแคลเซียม วิตามินดี และค่าการทำงานของตับและไตอย่างสม่ำเสมอ
- ควรรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสม
- แต่อย่างไรก้ตามวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการรักษาโรคกระดูกพรุนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก จากโรคกระดูกพรุน
