แบบบันทึกการนับลูกดิ้น

แบบบันทึกการนับลูกดิ้น  FATAL MOVEMENT

ในระยะแรก ของการตั้งครรภ์ทารกจะมีการดิ้น ในรูปแบบที่ต่างกัน โดยทารกจะดิ้นดีมาก แต่เป็นการดิ้นที่ระบบประสาท จะมีการประสานกันน้อยมาก

ในระยะหลัง ของการตั้งครรภ์ การดิ้นของทารก จะมีการประสานกันมากขึ้น

ทารกในครรภ์จะมีช่วงหลับและตื่นไม่ตรงกันกับมารดา ช่วงระยะเวลานอนหลับของทารกต่อรอบนาน 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมง นอกจากนี้แล้วทารกในครรภ์ยังมีการดิ้นในแต่ละช่วงเวลาของวันไม่เท่ากัน โดยพบว่าทารกจะดิ้นมากระหว่างเวลา 21.00 – 01.00 น. และจะดิ้นมากเมื่อมารดารับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ

องค์ประกอบที่มีผลต่อการดิ้นของทารกในครรภ์   ได้แก่

  • ระดับกลูโคสในเลือดมารดา

  • มื้ออาหารที่มารดาได้รับ

  • เสียงภายนอกที่มากระตุ้น

  • อาชีพของมารดา

  • ความสนใจของมารดาต่อการดิ้นของทารก

ความสำคัญของการนับทารกดิ้นในครรภ์

การที่ทารกดิ้นน้อยลง มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นจะพบเป็นเวลาประมาณ 12 – 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะเสียชีวิต ดังนั้นการนับทารกดิ้นจะช่วยในการตรวจ
ค้นคว้า หรือแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ทารกเสียชีวิต การที่คุณแม่รู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงนับเป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไปว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ไม่ดีจริงหรือไม่

ควรเริ่มนับทารกดิ้นในครรภ์เมื่อไหร่?

คุณแม่ควรนับการดิ้นของทารกในครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบระหว่างตั้งครรภ์

วิธีการนับการดิ้นของทารกในครรภ์

เริ่มนับทารกดิ้นในครรภ์ตั้งแต่ 09.00 น. โดยนับครบ 10 ครั้ง ใช้เวลาในการนับประมาณ 10-12 ชั่วโมง ถ้านับได้ 10 ครั้งขึ้นไปถือว่าทารกปกติ คุณแม่ควรนับและบันทึกการดิ้นของทารกแต่ละครั้งลงตาราง การนับการดิ้นของทารกแต่ละครั้งให้บันทึกไว้จนครบ 10 ครั้ง ถ้าครบ 12 ชั่วโมง แล้วทารกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

ข้อแนะนำในการนับและบันทึกการดิ้นของทารก

  • ลักษณะการดิ้นของทารก คือ เตะ ยืดตัว บิดตัว

  • ท่าที่ดีที่สุดในการรับรู้ถึงการดิ้นของทารก คือ ท่านอนตะแคงซ้าย

  • ขณะบันทึกคุณแม่ควรอยู่ในที่เงียบ เพราะจะทำให้มีสมาธิในการรับรู้ถึงการดิ้นของทารกได้ดี

  • ต้องบันทึกการดิ้นของทารกทุกวัน

  • โปรดนำแบบบันทึกการดิ้นของทารกมาให้แพทย์หรือพยาบาลดูทุกครั้งที่มาฝากครรภ์

  • หากท่านมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ โทร. 0-2366-9900-99  แผนกสูติ-นรีเวช ต่อ 2101-3 หรือแผนกห้องคลอด ต่อ 2304 ได้ตลอดเวลา

วิธีนับลูกดิ้น

  • ครั้งแรก ตอนเช้าในขณะที่คุณแม่ยังไม่มีงานอะไรมากนัก

  • ครั้งที่สอง ตอนเย็นหรือตอนค่ำๆ ขณะที่ลูกน้อยเคลื่อนไหวแรง เริ่มจับเวลาแล้วนับดูว่า ลูกน้อยดิ้นครบ 10 ครั้ง ในเวลาเท่าใดแล้วจดเวลาเอาไว้ (จำนวนครั้งของการดิ้นจะนับรวม ทั้งการเตะ, การเอาศอกมากระทุ้ง, การบิดตัวของลูกน้อย)

    • บางรายลูกจะดิ้นครบ 10 ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที ก็ไม่ต้องกังวลว่าผิดปกติ อาจจะเป็นวันที่ลูกดิ้นมาก ถ้าลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ให้คุณแม่ดื่มนม หรือทานอาหารว่าง แล้วนอนพักเริ่มนับการดิ้นของลูกน้อยใหม่ ถ้าใน 1 ชั่วโมง ลูกยังดิ้นไม่ครบ 10 ครั้งให้นับต่อไปและจดไว้ว่าดิ้นครบ 10 ครั้งในเวลากี่ชั่วโมง

    • ถ้าหากครบ 12 ชั่วโมง แล้วลูกยังดิ้นไม่ครบ 10 ครั้ง ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะใช้เครื่องฟังเสียง ฟังเสียงหัวใจหรือตรวจอัลตราซาวนด์ หรือใช้เครื่องตรวจสภาพของลูกน้อยในครรภ์ เพื่อดูว่าผิดปกติหรือไม่ต่อไป

การดิ้นของทารกในครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีชีวิตปกติดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยในครรภ์อาจกำลังตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะเมื่อใกล้ครบกำหนดคลอดถ้าลูกดิ้นน้อย หรือดิ้นห่างลงไปเรื่อยๆ หรือหยุดดิ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับลูก ซึ่งบางทีอาจร้ายแรงมากจนลูกเสียชีวิตได้ ถ้าไม่มีเวลาแต่คุณแม่อยากทราบว่าลูกดิ้นเป็นปกติหรือไม่ก็ควรสังเกตและนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า