เป็นนิ่วรักษาอย่างไร? นิ่วรักษาได้หรือไม่?

นายแพทย์มณเฑียร มรุตกรกุล
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก


ป็นนิ่วรักษายังไง? ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีอันตรายไหม?
สารพันคำถามเกี่ยวกับการผ่าตัดและรักษา “โรคนิ่วในถุงน้ำดี”

นอกจาก การผ่าตัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว ห้องผ่าตัดส่องกล้องของโรงพยาบาลแห่งนี้ยังพร้อมให้บริการผ่าตัดประเภทอื่นๆ อาทิ การผ่าตัดลำไส้อุดตันหรือไส้ติ่งอักเสบ การผ่าตัดไส้เลื่อน รวมถึงการผ่าตัดก้อนที่ต่อมหมวกไต เป็นต้น ซึ่งการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน และเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้ป่วยในการผ่าตัดรักษาโรคซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

โรคนิ่วในถุงน้ำดีสามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง นวัตกรรมเพื่อการรักษา “ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ” โดยปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอาการป่วยด้วย “โรคนิ่วในถุงน้ำดี” ตามโรงพยาบาลต่างๆ ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลศิครินทร์ บริการ “ผ่าตัดส่องกล้อง” เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ห้องผ่าตัดเฉพาะทาง และเครื่องมือสุดทันสมัยไว้พร้อมบริการ

วันนี้เรามาพูดคุยกับ ายแพทย์มณเฑียร มรุตกรกุล ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดี (ERCP) และการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopy) เกี่ยวกับเรื่อง “โรคนิ่วในถุงน้ำดี” ว่ามีอาการเป็นอย่างไร และจะมีวิธี รักษาอย่างไร?


เป็นนิ่วในถุงน้ำดีอันตรายไหม?

คุณหมอมณเฑียรแนะนำว่า หากผู้ที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือป่วยแล้วแต่อาการยังไม่มาก สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการลุกลามได้ ดังนี้

▪ ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรงดการทานอาหารที่มีไขมันสูง
▪ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมในร่างกายได้ดีขึ้น
▪ งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่
▪ ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการที่ทำให้น้ำหนักลดลงรวดเร็ว เนื่องจากตับจะต้องขับไขมันออกมาในปริมาณมาก และเมื่อขับน้ำดีออกมาย่อยสลายไขมันไม่ทัน ไขมันที่คั่งค้างจะส่งผลให้เกิดนิ่วได้

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากอะไร?

คุณหมอมณเฑียร ได้ให้ข้อมูลว่า โรคนิ่วในถุงน้ำดีมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ตับผลิตน้ำดีออกมาย่อยสลายไขมันไม่เพียงพอกับปริมาณไขมันที่ร่างกายรับเข้า ไขมันที่ย่อยสลายไม่หมดจึงตกตะกอนและจับตัวเป็นก้อนนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี

“เมื่อก่อนนี้ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันเราพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากพฤติกรรมการบริโภคที่บริโภคไขมันกันมากขึ้น ทำให้เกิดโรคได้เร็วขึ้น บวกกับการที่คนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการตรวจร่างกายกันมากขึ้นด้วยครับ”

ายแพทย์มณเฑียร มรุตกรกุล

เป็นนิ่วรักษาอย่างไร?

“สำหรับคนที่มีร่างกายแข็งแรง หรืออายุยังน้อย รวมถึงอาการของโรคไม่รบกวนการใช้ชีวิตมาก ก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดครับ เพราะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้นมีต่ำ ประมาณร้อยละ 1 – 3 ต่อปีเท่านั้น จึงแนะนำให้คอยตรวจและติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอ

ยกเว้นในกรณีที่มีอาการแสดงชัดเจน ได้แก่ อาการปวดจุก แน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย รวมถึงอาการปวดท้องต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงหลังกินอาหาร แสดงว่านิ่วในถุงน้ำดีเริ่มก่อกวนร่างกาย หากปล่อยไว้นานจนเกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบจะทำให้มีไข้ขึ้น และปวดมากยิ่งขึ้น อาการลักษณะนี้จึงแนะนำให้ผ่าตัดครับ”

เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ทานยาสลายนิ่วได้หรือไม่?

“โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคนิ่วที่สามารถรักษาได้ด้วยการทานยา จะเป็นโรคนิ่วชนิดคอเลสเตอรอลอย่างเดียว ซึ่งในคนไทยมักจะมีแคลเซียม และมีเม็ดสีปนอยู่ด้วย ทำให้การรักษาด้วยการทานยาสลายนิ่วมักจะไม่ค่อยได้ผล แม้ว่าจะได้ผลในผู้ป่วยบางราย แต่จะต้องมีการทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หากหยุดยาก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้น วิธีนี้จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมในการรักษามากนักครับ”

วิธีรักษานิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้รับความนิยมในปัจจุบันมี 2 วิธี ดังนี้

“วิธีแรกคือ การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยเปิดช่องท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวายาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย โดยวิธีการนี้แพทย์มักให้ผู้ป่วยนอนพักดูอาการที่
โรงพยาบาลประมาณ 3 – 5 วัน และพักงานประมาณ 1 เดือน ซึ่งถือว่าก็นานพอสมควร

ปัจจุบันจึงมีอีกทางเลือกหนึ่ง คือ การผ่าตัดส่องกล้อง โดยเจาะช่องเป็นแผลขนาดเล็กๆ ประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร จำนวน 3 – 4 จุด เพื่อสอดอุปกรณ์และกล้อง วิธีการนี้ให้ผลดีเทียบเท่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ซึ่งอาการหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีโดยการผ่าตัดส่องกล้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยกว่า แผลหายเร็วกว่า นอนดูอาการที่โรงพยาบาลเพียง 1 – 2 วัน พักงานอีก 1 สัปดาห์ก็กลับไปทำงานได้เป็นปกติ เพียงแต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผ่าตัดแบบแรกครับ”


#เรื่องผ่าตัดไว้ใจศิครินทร์
จุดเด่นของการผ่าตัดส่องกล้องของโรงพยาบาลศิครินทร์

“จุดเด่นในการบริการของเรา นอกจากเครื่องมือผ่าตัดที่มีความทันสมัย อีกทั้งมีทีมศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว ห้องผ่าตัดส่องกล้องของโรงพยาบาลศิครินทร์ยังได้ออกแบบขึ้นเพื่อการผ่าตัดส่องกล้องโดยเฉพาะ จึงมีการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว การันตีโดยการได้รับรองมาตรฐาน”


บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า