ถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับ “วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV”

นายแพทย์ธนุพัชร์ ดีทองอ่อน
สูตินรีแพทย์ ด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา

“มะเร็งปากมดลูก” มะเร็งร้ายที่พบมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ที่คร่าชีวิตผู้หญิงเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และมีสถิติการเกิดโรคและการเสียชีวิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณผู้หญิงทั้งหลายควรหันมาใส่ใจกับสุขภาพและหาความรู้ เพื่อทำความรู้จักกับเจ้าโรคร้ายนี้กันก่อนจะสายเกินไป

เชื้อ HPV ที่มาของวายร้าย…มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า “HPV” (Human Papilloma Virus) เชื้อไวรัสนี้ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและสามารถพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมีหลากสายพันธุ์มาก แต่สายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดเป็นสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งในปัจจุบัน มีการค้นพบวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV คืออะไร?
วัคซีน HPV คือ วัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus สำหรับสายพันธุ์ที่พบบ่อย โดยในปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ดังนี้

ชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix) สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70%
ชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil) สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% และสามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ที่ทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่ได้มากถึง 90%

วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคติดต่ออื่นๆ

ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีน HPV?
วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-26 ปี หรืออาจขยายระยะเวลาได้ถึง 45 ปี ในผู้ชายก็ทำนองเดียวกัน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของวัคซีน HPV ควรได้รับวัคซีนในวัยที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด รวมไปถึงการได้รับวัคซีนอย่างต่อเนื่องจำนวน 3 เข็ม โดยเว้นระยะการฉีดคือ

เข็มที่ 1 กำหนดวันได้เอง/วันที่ต้องการฉีด
เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน
เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 6 เดือน

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สำหรับเด็ก อายุ 9 – 1 4 ปี


ผู้ชายก็ฉีดวัคซีน HPV ได้!
นอกจากมะเร็งปากมดลูกแล้ว เชื้อ HPV ยังเป็นสาเหตุของการเกิด หูดหงอนไก่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้ ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์ด้วยปาก การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว และที่สำคัญยังเป็นการป้องกันการเป็นพาหะนำเชื้อ HPV ไปสู่ผู้หญิงอีกด้วย

อายุเยอะ แต่งงานแล้วฉีดได้หรือไม่?
ผู้หญิงอายุเกิน 30 ปี ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือไม่ว่าจะวัยไหน สถานะใด ก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ เพื่อที่วัคซีนจะเข้าไปป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ไม่เคยติดได้เช่นกัน

ยิ่งเราสามารถทำความรู้จักโรคมะเร็งปากมดลูกและป้องกันได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถลดโอกาสที่จะเกิดโรคได้เร็ว หรือเมื่อตรวจพบแล้วก็สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมไปถึงการหมั่นสังเกตตัวเองและหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ

ถ้าเคยได้รับเชื้อ HPV มาแล้วจะฉีดวัคซีนได้ไหม?
แม้ว่าจะเคยได้รับเชื้อมาแล้ว การฉีดวัคซีน HPV สามารถช่วยป้องกันเชื้อวัคซีน HPV สายพันธุ์อื่นๆ ได้ หรือแม้กระทั่งป้องกันการเกิดเชื้อ HPV ซ้ำในสายพันธุ์เดิมได้อีกด้วย

อาการข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน
โดยทั่วไปแล้วมักไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงที่รุนแรง อาจมีอาการเล็กน้อย โดยอาการที่พบบ่อย เช่น มีอาการปวด บวมบริเวณฉีดวัคซีน บางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หรือปวดกล้ามเนื้อ


บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า