ภาวะผู้มีบุตรยาก – คู่ของคุณเข้าข่ายมีบุตรยากหรือยัง?

แพทย์หญิงสร้อยสุวรรณ บรรณเสถียนศรี
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ภาวะผู้มีบุตรยาก คืออะไร

“ภาวะมีบุตรยาก” หมายถึง ภาวะที่คู่สมรส ไม่สามารถมีบุตรได้ภายใน 1 ปี ทั้งที่มีเพศสัมพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดภาวะนี้พบได้ ประมาณ 10 – 15% ของคู่สมรสที่ต้องการมีบุตร

สาเหตุของการมีบุตรยาก พบว่าเกิดจาก

  • ฝ่ายหญิงประมาณ 40 % เช่น อายุมากภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน เนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ฝ่ายชายประมาณ 25 %  เช่น อสุจิน้อย ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เป็นต้น
  • ทั้ง 2 ฝ่าย 20% และไม่ทราบสาเหตุประมาณ 15 %

ดังนั้นการหาสาเหตุจึงต้องตรวจทั้ง 2 ฝ่าย 

วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ 

ฝ่ายชาย โดยซักประวัติการตรวจน้ำอสุจิ (งดการหลั่งน้ำอสุจิ 2 – 7 วันก่อนมาตรวจ)

ฝ่ายหญิง โดยการซักประวัติ ตรวจภายใน อัลตร้าซาวน์ทางช่องคลอดดูมดลูกและรังไข่ การฉีดสีดูท่อนำไข่ การเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมน การส่องกล้องโพรงมดลูก การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้การตรวจหาสาเหตุในแต่ละราย จะมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประวัติและการตรวจร่างกายว่าชวนให้สงสัยว่าเป็นสาเหตุใด

คู่ของคุณ เข้าข่ายมีบุตรยากหรือยัง❓หากคุณพยายามมีน้องโดยมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยไม่ได้คุมกำเนิด เป็นระยะเวลานาน 1 ปี แต่ยังไม่ตั้งครรภ์ แสดงว่าคุณเริ่มเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก!

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และเตรียมพร้อมก่อนมีบุตร

“ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาการมีลูกของคู่สมรสหลายๆ คู่ในปัจจุบัน มาไขปัญหาถึงสาเหตุของการมีบุตรยาก และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะช่วยมาเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัว”


ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (Fertility Center) ให้บริการช่วยเหลือและพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อการมีบุตรสำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติ  มีอัตราประสบความสำเร็จ (Success Rate) สูงถึง 55.3%  

คอยดูแลและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ และนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอ่อน (Embryologist) ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์อย่างครบวงจร พร้อมห้องปฏิบัติการเพราะเลี้ยงตัวอ่อน และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสากล ให้คุณมีทายาทตัวน้อยมาช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัวของคุณ

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

แนวทางในการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากมีหลายวิธี เช่น

  • การใช้ยา (รับประทานหรือฉีด) เพื่อชักนำให้มีการตกไข่
  • การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI)
  • การผ่าตัด (กรณีมีเนื่องอด ซีสต์ พังผืด ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เป็นต้น)
  • การปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF, ICSI)
  • การใช้ไข่หรืออสุจิบริจาค
  • การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อายุ สาเหตุ ระยะเวลาที่ไม่มีบุตรและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เป็นต้น 

โอกาสตั้งครรภ์

โดยธรรมชาติแล้ว หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่โอกาสตั้งครรภ์มีประมาณ 20% กรณีคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก โอกาสตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หญิงอายุน้อยมีปัญหาไข่ไม่ตก มีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าหญิงอายุมาก เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษา

เทคโนโลยีที่โรงพยาบาลศิครินทร์ นำมาใช้รักษาคู่สมรสที่มีบุตรยาก

  • การใช้ยาเพื่อชักนำให้มีการตกไข่
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscope) เพื่อวินิจฉัย ตัดซีสต์ เลาะพังผืด การแก้ไขท่อนำไข่ตัน เป็นต้น
  • การผ่าตัดแก้หมัน
  • การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine Insemination : IUI)
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (การทำเด็กหลอดแก้ว) 

IVF (In Vitro Fertilization) การทำเด็กหลอดแก้ว
คือการฉีดยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ แล้วเจาะดูดไข่ออกมาผสมกับอสุจิในงานทดลอง แล้วเลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน (embryo culture) อายุ 3-5 วัน (ตัวอ่อนอายุ 5 วัน เรียก blastocyst) แล้วจึงย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก (Embryo Transfer;ET)

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือการทำอิ๊กซี่ 
การทำอิ๊กซี่ มีขั้นตอนเหมือน IVF แต่ต่างกันที่ขั้นตอนการปฏิสนธิ การทำ IVF จะใส่ sperm จำนวนหนึ่งลงในจานที่มีไข่ 1 วัน เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง ส่วน ICSI จะใช้กรณีที่ฝ่ายชายมีอสุจิน้อย Embryologist จะใช้อุปกรณ์จับ sperm 1 ตัว จิ้มเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น 

 โปรแกรม ICSI สำหรับผู้มีบุตรยาก

Embryo Freezing การแช่แข็งตัวอ่อน
เมื่อมีการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของตัวอ่อนแล้ว นำไปแช่แข็งแล้วนำกลับมาใส่โพรงมดลูกเมื่อต้องการ โดยตัวอ่อนที่เหลือจากการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก สามารถนำไปแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว และตัวอ่อนที่แช่แข็งไว้สามารถนำมาใช้ในรอบต่อไปได้ โดยที่ไม่ต้องกระตุ้นไข่ใหม่ ซึ่งในการแช่แข็งตัวอ่อนก็สามารถเก็บไว้ได้นานหลายปีเช่นกัน

Sperm Freezing การแช่แข็งอสุจิ
กรณีที่ฝ่ายชายอาจไม่สามารถมาเก็บเชื้อ เพื่อ IUI หรือ IVF/IUSI ได้ในวันที่ต้องการหรือในกรณีที่ต้องการเก็บรักษาอสุจิไว้ก่อนการรักษาโรคที่ทำให้มีผลต่ออสุจิ เช่น การฉายแสง หรือผ่าตัดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ การให้ยาเคมีบำบัด 

โปรแกรมฝากไข่ Oocyte Freezing

PGD/PGS การตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์
เป็นการดึงเอาเซลล์จากตัวอ่อนออกมาเพื่อตรวจหาความผิดปกติของพันธุกรรม ก่อนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก 

  • Preimplantation Genetic Diagnosis (PGD) คือ การตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ เป็นวิธีการที่ช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อน ก่อนที่เพศหญิงจะตั้งครรภ์
  • Preimplantation Genetic Screening (PGS) การตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ เป็นการทดสอบภาวะปกติของโครโมโซมโดยรวม ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง เป็นเพียงการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมเบื้องต้นเท่านั้น

Assisted hatching การเจาะเปลือกตัวอ่อน
คือ การใช้ Laser ทำให้เปลือกตัวอ่อนบางลงเพื่อช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน


บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า