“หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว อ่อนเพลีย เลี้ยงไม่โต ดื่มนมน้อย เล็บสีม่วงคล้ำ เหงื่อออกมาก” อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกของคุณเสี่ยง! โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เด็กแรกเกิดก็เป็นโรคหัวใจได้! เด็กแรกเกิด 8 คน จาก 1,000 คนเป็นโรคหัวใจพิการ โดยส่วนหนึ่งของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งโรคหัวใจแต่กำเนิด พบว่าจำนวน 1 ใน 4 หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เด็กอาจเสียชีวิตได้
โรงพยาบาลศิครินทร์ ร่วมกับ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปภัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สานต่อ “โครงการผ่าตัดเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด” โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และเป็นสื่อกลางจัดหาเด็กกลุ่มเสี่ยง
บุตรหลานของท่านเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่?
โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กจะมีอาการที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ดังต่อไปนี้
- หัวใจเต้นเร็ว เด็กมีอาการหัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ
- หายใจเร็ว เด็กหายใจเร็วกว่าปกติ เหนื่อยง่าย
- ดื่มนมน้อย เด็กดูดนมได้ช้า ใช้ระยะเวลาในการดูดนมนานกว่าปกติ เนื่องจากหัวใจและปอดทำงานมากกว่าปกติ
- เลี้ยงไม่โต เนื่องจากเด็กต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า
- ภาวะเขียว เด็กจะมีริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้าเขียว เล็บมีสีม่วงคล้ำ
หากสังเกตพบอาการว่าบุตรหลานของท่านมีอาการดังกล่าว สามารถเข้ารับการตรวจจากเเพทย์ของมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ได้ฟรี (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น) ในวันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. ห้องประชุม Sikarin Grand Room ชั้น 8 อาคาร 3 โรงพยาบาลศิครินทร์ (กรุงเทพฯ)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลศิครินทร์ อาคาร 1 ชั้น 1 หรือโทร. 1728
