“ต้อหิน” ปล่อยไว้ไม่รักษา เสี่ยงสูญเสียการมองเห็น

ต้อหินคืออะไร?

ต้อหิน (Glaucoma) โรคของดวงตาชนิดหนึ่งเกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา หรือประสาทตาถูกทำลาย มีปัจจัยหลักมาจากการที่ความดันลูกตาสูงเกิดการกดทับขั้วประสาทตา จนทำลายประสาทตา ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด โดยโรคต้อหินนี้ พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการมองเห็นมากเป็นอันดับ 2 รองจากต้อกระจก (ที่มา: องค์กรอนามัยโลก | WHO)

รู้ทัน ต้อกระจก อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

ต้อหิน เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน นอกจากนี้ ยังพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น สายตายาว เป็นต้น โดยพบว่าในทุกๆ 100 คน จะพบคนที่เป็นโรคต้อหิน 1 คน

อาการโรคต้อหินเป็นอย่างไร?

ส่วนใหญ่แล้ว อาการโรคต้อหิน มักไม่สามารถสังเกตได้เอง หรือมีสัญญาณเตือนให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้า ซึ่งอาการของโรคต้อหิน จะมีอาการแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน โดยทั่วไปแล้วต้อหิน จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ต้อหินมุมเปิด (Open-Angle Glaucoma) และ ต้อหินมุมปิด (Angle-Closure Glaucoma)

ต้อหินมุมเปิด เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนมากมักไม่แสดงอาการในระยะแรก เส้นประสาทตาจะค่อยๆ เสียไป ผู้ป่วยจะค่อยๆ สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ ตามัวลงเล็กน้อยคล้ายมีหมอกมาบังทางด้านข้าง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะสูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดในที่สุด

ต้อหินมุมปิด พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด อาการขึ้นอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตา ตาแดง เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ หากผู้ป่วยมาปรึกษาจักษุแพทย์อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้แล้วยังมี ต้อหินแต่กำเนิด มักเกิดในทารกแรกเกิดหรือเด็ก และ ต้อหินชนิดแทรกซ้อน ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติทางตา หรือเกิดจากโรคตาอื่นๆ


การวินิจฉัยและวิธีการรักษาต้อหิน

การวินิจฉัยโรคต้อหิน แพทย์จะตรวจวินิจฉัยประวัติทางการแพทย์ และตรวจสุขภาพตา โดยมีวิธีการตรวจวินิจฉัยต่างๆ ได้แก่ ตรวจความดันลูกตา ตรวจประสาทตาและจอรับภาพ วัดประสิทธิภาพของลานสายตา วัดความหนาของกระจกตา ตรวจช่องทางการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา

การรักษาโรคต้อหิน จะเป็นการลดความดันลูกตา เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ททำให้เส้นประสาทตาเกิดความเสื่อมและได้รับความเสียหาย ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ตั้งแต่การใช้ยาหยอดตา การรับประทานยา การรักษาผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ และการผ่าตัดชนิดอื่นๆ

การป้องกันโรคต้อหิน

ต้อหินเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แนะนำว่าสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็น ควรได้รับการตรวจสุขภาพตา ทุก 2-4 ปี และสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับการตรวจจอประสาทตา ตรวจต้อหิน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคต้อหินสูงหรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา อาจต้องเข้ารับการตรวจบ่อยครั้งขึ้น

ปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คลิก

ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า